ขันโตก คืออะไร

ขันโตก เป็นทั้งชื่อของภาชนะที่ใช้จัดวางอาหารที่มาพร้อมกับอาหารชนิดต่าง ๆ เนื่องจากแบบแผนหรือวิถีการรับประทานอาหารของไทยแต่เดิมนั้นเป็นการนั่งบนพื้น จึงต้องใช้ถาดที่มีฐานรองสูงจากพื้นเพื่อสะดวกในการรับประทาน รูปแบบของภาชนะนี้สามารถพบได้ในภาคเหนือเช่นเดียวกับภาคอีสาน

 

ขันโตก คืออะไร

คนต่างถิ่นยอมโยนทิ้งคำถามข้างบนเพื่อคว้านหาคำตอบอย่างแน่นอนเพื่อคลายข้อสงสัย ขันโตก คือ เป็นภาชนะที่มีลักษณะเป็นถาดมีขาตั้งสูง ใช้วางอาหาร ใช้กันในหมู่คนที่นิยมรับประทาน ข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ขันโตกมีสองชนิดด้วยกัน คือ ขันโตกยวนซึ่งทำด้วยไม้สัก ใช้กันแพร่หลายในแถบ ภาคเหนือของประเทศไทย อีกชนิดหนึ่งคือขันโตกลาว ทำด้วยไม้ไผ่สานประกอบด้วยหวายในบางส่วน นิยมใช้ในภาคอีสาน  ลาว และแถบสิบสองปันนาในทางตอนใต้ของจีน  รวมทั้งชาวเขาบางกลุ่มก็นิยมใช้ขันโตกกัน

เมื่อในสมัยโบราณขันโตกเป็นเครื่องใช้ส่วนหนึ่งของงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน งานศพ และพิธีทำบุญบ้านเป็นต้น อาหารที่ใช้เลี้ยงเป็นอาหารเหนือและจะเป็นอะไรอีกต่าง ๆ ก็ได้ส่วนการใช้งานก็ใช้เป็นภาชนะที่วางถ้วยอาหารกับข้าว เมื่อใส่กับข้าวแล้วยกมาตั้งสมาชิกในครอบครัวหรือแขกที่มาบ้านจะนั่งล้อมวงกันกินข้าว หากใส่ดอกไม้ธูปเทียนก็จะเป็นขันดอก และถ้าใส่เครื่องคำนับก็จะเป็นขันตั้ง นอกจากการจะแบ่งชนิดของขันโตกแล้ว ยังแบ่งขนาดของขันโตกกันอีกด้วย หลักๆจะมี 3ขนาด คือ ขันโตกหลวง หรือ สะโตกหลวง ที่ทำด้วยไม้ขนาดใหญ่  นิยมใช้การในราชสำนักในคุ้มในวังของเจ้านายฝ่ายเหนือทั่วไป รวมทั้งใช้ในวัดวาอารามทั่วไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับยศศักดิ์ และความยิ่งใหญ่ของชนชั้นผู้ปกครองในการที่จะใช้เลี้ยงแขกบ้านแขกเมือง

ขนาดรองลงมาก็จะเป็น ขันโตกฮาม หรือ สะโตกทะราม เป็นขันโตกขนาดกลางประมาณ 17-24นิ้ว (คำว่า ฮาม หรือ ทะรามนี้ หมายถึงขนาดกลาง)ใช้ไม้ขนาดกลางมาตัดและเคี่ยนหรือกลึงเหมือนขันโตกหลวง ผู้ที่ใช้ขันโตกขนาดนี้ มักได้แก่ครอบครัวขนาดใหญ่ เช่น คหบดี เศรษฐีผู้มีอันจะกิน หรือถ้าเป็นวัด ผู้ที่ใช้ขันโตกขนาดนี้คือ พระภิกษุ ในระดับรองสมภารและสุดท้ายขันโตกหน้อย เป็นขันโตกขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 10 – 15 นิ้ว วิธีทำมีลักษณะเช่นเดียวกับขันโตกหลวงและขันโตกฮาม ใช้ในครอบครัวเล็ก เช่น หญิงชายพึ่งแต่งงานใหม่ หรือ ผู้ที่รับประทานคนเดียว อาหารที่ใส่ก็มีจำนวนน้อย

 

การแบ่งประเภท

 

ขันโตกแบ่งออกเป็น 3 ขนาด ดังนี้

  • ขันโตกหลวง หรือ สะโตกหลวง ทำด้วยไม้ขนาดใหญ่ ตัดท่อนมากลึงหรือเคี่ยนเป็นขันโตก มีความกว้างประมาณ 25 – 50 นิ้ว ตามขนาดของไม้ที่หามาได้ และนิยมใช้การในราชสำนักในคุ้มในวังของเจ้านายฝ่ายเหนือทั่วไป รวมทั้งใช้ในวัดวาอารามทั่วไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับยศศักดิ์ และความยิ่งใหญ่ของชนชั้นผู้ปกครองใช้ในการที่จะเลี้ยงแขกบ้านแขกเมืองด้วย ส่วนวัดนั้นพระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่การเคารพนพนอบ มีประชาชนนำอาหารไปถวายมากดังนั้นประชาชนจึงนิยมทำขันโตกหลวงไปถวายวัด
  • ขันโตกฮาม หรือ สะโตกทะราม เป็นขันโตกขนาดกลางประมาณ 17-24 นิ้ว (คำว่า ฮาม หรือ ทะรามนี้ หมายถึงขนาดกลาง) ใช้ไม้ขนาดกลางมาตัดและเคี่ยนหรือกลึงเหมือนขันโตกหลวง ลงรักทาหางอย่างเดียวกัน ผู้ที่ใช้ขันโตกขนาดนี้ มักได้แก่ครอบครัวขนาดใหญ่ เช่น คหบดี เศรษฐีผู้มีอันจะกิน หรือถ้าเป็นวัด ผู้ที่ใช้ขันโตกขนาดนี้คือ พระภิกษุ ในระดับรองสมภาร
  • ขันโตกหน้อย เป็นขันโตกขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 10 – 15 นิ้ว วิธีทำมีลักษณะเช่นเดียวกับขันโตกหลวงและขันโตกฮาม ใช้ในครอบครัวเล็ก เช่น หญิงชายพึ่งแต่งงานใหม่ หรือ ผู้ที่รับประทานคนเดียว อาหารที่ใส่ก็มีจำนวนน้อย

 

การกินข้าวขันโตก

เป็นประเพณีของชาวเหนือที่นิยมปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ ใช้ในการรับรองแขกบ้านที่มาเยือน ให้หรูหรา สมเกียรติ และเพื่อให้เกิดความอบอุ่นประทับใจใน การต้อนรับ  ซึ่งในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนการกินข้าวขันโตกเป็นการจัดงานเลี้ยง ตกแต่งด้วยการประดับประดาบรรยากาศในสไตล์เมืองเหนือ มีการนำเอาศิลปะ วัฒนธรรมการแสดงมาผนวกเข้า ทั้งนี้เพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แขกผู้มาเยือนให้เกิดความประทับใจในขันโตกส่วนใหญ่ก็จะประกอบไปด้วยอาหาร 5อย่าง ตัวอย่างเช่น  แกงอ่อม แคบหมู แกงฮังเล น้ำพริกอ่อง ชิ้นปิ้ง(หมูย่าง) ผักสด ก็ว่ากันไป และสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ ข้าวเหนียว หรือ ข้าวนึ่งในเวอร์ชั่นของคนเหนือ

 

ขันโตก ใช่ว่าจะมีแต่ของคาว

  • อาหารประเภทแกง

อาหารประเภทแกงของภาคเหนือมีลักษณะแห้งๆ และข้นกว่าในภาคอื่น แต่เผ็ดน้อยกว่า และไม่ใช้กะทิในการปรุง บนขันโตกจะมีแกงอย่างน้อยหนึ่งอย่าง โดยทั่วไปเป็นแกงฮังเล แกงอ่อม และแกงหน่อไม้

  • น้ำพริกและเครื่องเคียง

ขันโตกที่สมบูรณ์จะเพียบพร้อมไปด้วยน้ำพริกและเครื่องเคียง ได้แก่ น้ำพริกหนุ่ม หรือน้ำพริกอ่อง หรือทั้งสองอย่าง และจะรับประทานกับผักนึ่งและผักสด เช่น แตงกวา กะหล่ำปลี และฟักทอง พร้อมทั้งแคปหมู เนื่องจากภาคเหนือมีพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ จึงสามารถนำพืชผักสมุนไพร เช่น หัวปลี ยอดมะม่วง หรือยอดมะขามมาใช้เป็นส่วนผสมเพื่อให้อาหารมีรสเปรี้ยวแตกต่างกัน

  • อาหารประเภทเนื้อ

เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว และปลา เป็นอาหารหลักบนขันโตก โดยการทำให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ สะดวกต่อการรับประทานและมักจะทอดสุก ผัด ปิ้งย่าง รวมถึงการสับละเอียดและปรุงรสจัดจ้านแบบลาบ ไส้อั่วก็เป็นอาหารอีกอย่างหนึ่งที่พบได้เสมอบนขันโตก

เนื่องจากขันโตกในภาคเหนือมีรูปแบบที่แตกต่างกัน บางพื้นที่เพิ่มผัดผัก หรือของหวานร่วมด้วย ความน่าตื่นเต้นอยู่ตรงที่ความหลากหลายที่ถูกนำเสนอ และความสามารถในการผสมผสานได้อย่างลงตัว และตรงกับรสนิยมของผู้รับประทาน

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://guide.michelin.com

https://www.reviewchiangmai.com

https://th.wikipedia.org