ดนตรีและนาฏกรรมล้านนา

by | Jan 12, 2023 | ประเพณีล้านนา

ดนตรีและนาฏกรรมล้านนา

ดนตรีและนาฏกรรมล้านนา

เป็นศิลปะการแสดงทางภาคเหนือของประเทศไทย ปรากฏอยู่ในการฟ้อนประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการแสดงที่มีความเข้มแข็ง หนักแน่นในแบบฉบับของการตีกลองสะบัดชัยและการตบมะผาบ การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือนอกจะมีลักษณะเป็นแบบพื้นเมืองเดิม ไทยลานนา ไทยใหญ่ เงี้ยวรวมถึงพม่า ผสมกันอยู่แล้ว ยังรวมถึงการแสดงของภาคกลางรวมอยู่ด้วย

วงกลองล้านนา

เต่งถิ้ง

กลองเต่งถิ่ง

วงเต่งถิ้ง เป็นวงดนตรีประเภทปี่พาทย์ เครื่องดนตรีทุกชิ้นมีเสียงดังมาก ประกอบด้วยเครื่องเป่าและเครื่องตี เครื่องเป่าเป็นเครื่องเป่าประเภทปี่ที่เรียกว่า “แน” มี 2 เลาด้วยกัน คือ แนหน้อย (ขนาดเล็ก) และแนหลวง(ขนาดใหญ่) ส่วนเครื่องตีไก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม(เรียก-ป้าดไม้) ระนาดเอกเหล็ก (เรียกป้าดเหล็ก) ฆ้องวงใหญ่ (เรียกกลองป่งโป้ง)และกลองใหญ่คล้ายตะโพนมอญ (เรียกกลองเต่งถิ้ง) ชื่อวง “เต่งถิ้ง” ได้จากเสียงกลองใหญ่ที่ดัง “เต่ง- ถิ้ง” โอกาสที่บรรเลงมีหลายโอกาส ได้แก่ งานบุญงานวัด แห่ขบวน งานศพ งานฟ้อนผี นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงประกอบการชกมวย การฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบและฟ้อนม่านมุ่ยเชียงตาอีกด้วย

มองเซิง

กลองมองเซิง

มองเซิง เป็นวงกลองพื้นบ้านของชาวไทยใหญ่ เป็นที่นิยมกันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง คำว่า”มอง” หมายถึงฆ้อง และ”เซิง” หมายถึงชุด “มองเซิง” คือ”ฆ้องชุด” ซึ่งมักใช้ฆ้องตั้งแต่ 5-9 ใบ ใช้ฉาบขนาดใหญ่ตีประกอบ ส่วนกลองใช้กลองมองเซิง ซึ่งเป็นกลางสองหน้าไม่ติดถ่วง มีลักษณะคล้ายตะโพนมอญ แต่น้ำหนักเบากว่า วงมองเซิง ใช้ประโคมในงานบุญของวัด ขบวนแห่นาคสามเณรที่ล้านนาเรียก “ลูกแก้ว” ไทใหญ่เรียก”ส่างลอง”ขบวนแห่ครัวทานและประกอบการฟ้อนพื้นเมือง

ปูเจ่

กลองปูเจ่

ปู่เจ่ เป็นชื่อของกลองชนิดหนึ่งเรียกต่างกันไป เช่น ปั๊ดเจ่ อุเจ่ อู่เจ่ เป็นต้น เดิมนิยมเล่นในหมู่ชาวไทยใหญ่ ซึ่งเรียกกลองชนิดนี้ว่า “กลองก้นยาว” เครื่องประกอบจังหวะของกลองปูเจ่มีฉาบขนาดกลาง 1 คู่ ฆ้องประมาณ 3-6 ใบ ใช้ตีในขบวนแห่ ตีประกอบการฟ้อนเชิง ที่ชาวไทยใหญ่เรียก “ก้าลาย” และการฟ้อนดาบที่ชาวไทยใหญ่เรียก “ก้าแลว”

ตึ่งนง

กลองตึ่งนง

ตึ่งนง เป็นวงดนตรีที่ประกำอบด้วยเครื่องเป่าและตี เครื่องเป่าได้แก่ “แน” มี 2 เลา คือ แนหน้อยและแนหลวง เครื่องตีได้แก่ ฆ้องขนาดใหญ่ (เรียกก๊องอุ้ย) ฆ้องขนาดกลาง (เรียกก๊องโหยง) ฉาบใหย่ (เรียกสว่า) กลองขนาดเล็กหุ้มสองหน้าที่เรียกว่า “กลองตะหลดปด” และกลองแอว ชื่อวงตึ่งนงได้มาจากเสียงกลองแอวที่มีเสียง”ตึ่ง”รับกับฆ้องที่มีเสียง “นง” ใช้ประโคมในงานบุญของวัด ขบวนแห่ครัวทานและประกอบการฟ้อนเล็บ

สะบัดชัย

กลองสะบัดชัย

สะบัดชัย เป็นชื่อของกลองประเภทหนึ่ง แต่เดิมใช้ตีเป็นสัญญาณบอกเหตุ เป็นสัญญาณโจมตีข้าศึกและตีในงานรื่นเริงต่อมาใช้ตีเป็นพุทธบูชา และประโคมในงานบุญของวัด นอกจากนี้ยังพบว่า “สะบัดชัย” เป็นชื่อทำนองที่เรียกว่า”ระบำ” ในการตีกลอง “ปูจา”(ออกเสียงปู๋จา) อีกด้วย กลองสะบัดชัยที่มีคานหามในปัจจุบัน พัฒนามาจากการย่อส่วนของกลองปูชา เพื่อให้มีน้ำหนักเบาสะดวกในการหาม การย่อส่วนตอนแรกย่อเหมือนของเดิม กล่าวคือ มีกลองเล็ก อีก 2-3 ใบ ที่เรียกว่า “ลูกตูบ” มีไม้ไผ่ที่มีลักษณะ บางตีประกอบจังหวะเรียกว่า “ไม้เสะ” ภายหลังเมื่อมีการใช้ชั้นเชิงและลีลาการต่อสู้ ซึ่งใช้อวัยวะที่เป็นอาวุธของผู้ตีเข้าไปด้วย จึงตัดลูกตูบและไม้เสะออก การตีกลองสะบัดชัยในปัจจุบันใช้กลองใหญ่ขนาดพอห้ามได้ 1 ใบ ฉาบขนาดกลางและฆ้องตั้งแต่ 2-9 ใบ ลีลาในการตีมีการใส่ชั้นเชิงในการต่อสู้และความสามารถใช้อวัยวะที่เป็นอาวุธ เช่น ศอก เข่า เท้า หมัด ตีประกอบด้วยโอกาสที่ตีส่วนใหญ่จะตีในขบวนแห่

ถิ้งบ้อม

กลองทัด

ถิ้งบ้อม ชื่อวงกลองประเภทหนึ่ง มีลาลีในการตีกระชับและเร้าใจ เครื่องตีประกอบด้วย กลอง(คล้ายกองยาวภาคกลาง)3-5 ใบ กลองสองหน้าที่เรียก “กลองตัด” 1 ใบ ฉาบขนาดกลาง 1 คู่ ฉาบเล็กที่เรียก”ฉาบล่อ” 1 คู่

สิ้งหม้อง

กลองสิ้งหม้อง

สิ้งหม้อง เป็นชื่อของวงกลองประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลีลาในการตีง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เครื่องตีประกอบด้วยกลองสิ้งหม้อง ฉาบขนาดกลางและฆ้อง 3-5 ใบ ใช้ตีในขบวนแห่ครัวทาน ตีประกอบการฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบ และขบวนแห่ทั่วไป

กลองหลวง

กลองหลวง

กลองหลวง เป็นกลองหน้าเดียว มีขนาดใหญ่ เเละยาวมาก อาจกล่าวได้ว่าเป็นกลองที่มีขนาดใหญ่เเละยาวที่สุดของประเทศไทยก็ว่าได้ กลองหลวงเดิมนั้นเป็นที่นิยมกันในหมู่ชาว”ไทยอง” หรือเรียกอีกอย่างว่า “กลองห้ามมาร” อาจเนื่องจากเป็นกลองที่ใช้ตีสำหรับเวลามีงานบุญที่ยิ่งใหญ่ เช่นงานสมโภชพระธาตุ งานปอยหลวง เป็นต้น งานเหล่านี้ จะมีการนิมนต์พระอุปคุตซึ่งใช้หินจากแม่น้ำเป็นตัวแทนมาไว้ที่หออุปคุตในบริเวณจัดงาน เพื่อห้ามมิให้เหล่ามารเข้ามาทำลายพิธีงานบุญได้ เเละในการเเห่ก็จะใช้กลองหลวงด้วย

ข้อมูลอ้างอิงจาก

https://art-culture.cmu.ac.th

https://th.wikipedia.org

You May Also Like…

ผักพื้นบ้านทั้ง 4 ภาค

ผักพื้นบ้านทั้ง 4 ภาค

สารบัญผักพื้นบ้านคืออะไร ?ประโยชน์ของผักพื้นบ้านผักพื้นบ้านประจำท้องถิ่นภาคเหนือภาคกลางภาคอีสานภาคใต้ หากพูดถึง...