อาณาจักรล้านนา ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรือง ผู้คนสงบสุขร่มเย็นนับตั้งแต่โบราณกาลอีกทั้งความ ศรัทธา ในพระพุทธศาสนาได้หยั่งรากฝังลึก หล่อหลอมก่อให้เกิดศิลปะและวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม สืบเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชนชาวล้านนาได้ยึดถือหลักธรรม และปรัชญาคำสอนของ องค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า มาเป็นแนวทางในการด าเนินชีวิต ทำให้มีความสงบสุขตลอดมา
ล้านนา
มีผู้คนอาศัยอยู่หลากหลายชาติพันธุ์ มีความคล้ายคลึงกันทั้งรูปร่างหน้าตาและจารีตต่างๆ ดัง มีผู้กล่าวว่าความหลากหลายทางชาติพันธุ์นี้เองก่อเกิดความเป็น ล้านนา กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มแรกๆที่อาศัยอยู่ คือ ลั๊วะ คือชาวพื้นเมืองในกลุ่มมอญเขมร ตั้งถิ่นฐานกระจายทั่วไปในภาคเหนือเลยไปถึงเมืองเชียงตุง เมือง ยองและ หุบเขาต่าง ๆ ชนเผ่าลัวะมีหลายเผ่า และมีระดับความเจริญแตกต่างกันมาก เม็ง ชาติพันธุ์มอญ โบราณที่ตั้งถิ่นฐานในภาคเหนือมาช้านานแล้ว ไทยวน เป็นคนกลุ่มใหญ่ใช้ภาษาคำเมือง ไทลื้อ ไทยอง เชื่อกันว่าติดต่อกับกลุ่มชนในพื้นที่มานานแล้วก่อนที่จะอพยพเคลื่อนย้ายมาเพิ่มอีกตามหลักฐานที่ปรากฏในยุค เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง (สมัยพระเจ้ากาวิละ) ไทขึน กลุ่มชนแห่งลุ่มน้ าขืนหรือชนต่างกลุ่มเรียก เขิน อยู่ในจังหวัดเชียงตุง ประเทศพม่า ไทใหญ่ ส่วนมากจะอาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และกลุ่มชาติพันธุ์ อื่นๆ รวมทั้งไทภูเขาอีกหลายเผ่า ล้านนา ปัจจุบันถ้านับตามแผนที่ประเทศไทยประกอบด้วย ๘ จังหวัด ภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน หากนับตามที่ ปรากฏในตำนานหรือด้านวัฒนธรรม ล้านนายังรวมไปถึง เชียงตุง ในพม่า สิบสองพันนาในประเทศจีนและ บางส่วนในประเทศลาวอีกด้วย
ผี
เป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา มีลักษณะเป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์หรือเทวดาอารักษ์ที่คอยดูแลคุ้มครองคนและสถานที่ให้ปลอดภัยจากสิ่งชั่วร้าย ดังนั้นผีในโลกทัศน์ของชาวล้านนาจึงไม่ได้น่ากลัวหรือคอยหลอกหลอนคน แต่ความรู้สึกที่มีต่อผีจะเป็นเหมือนมิตรที่สร้างความอุ่นใจให้กับตน ทั้งนี้ผีก็มีหน้าที่แตกต่างกันไปตามสถานที่ที่ดูแล เช่น ผีเสื้อเมืองหรืออารักษ์เมือง จะเป็นผู้ดูแลเมือง ส่วนผีเสื้อบ้านก็จะมีหน้าที่ในการปกป้องดูแลหมู่บ้านเป็นต้น อีกทั้งยังมีผีที่คอยดูแลคนในครอบครัวโดยตรง ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับเครือญาติเดียวกันฐานะที่เป็นผีบรรพบุรุษ
แม้ว่ายุคสมัยจะผ่านมานานเพียงใด แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับผียังคงมีสายใยเชื่อมโยงกันอย่างหนาแน่น เพราะความเชื่อเรื่องผีถูกผนวกกลืนเข้าสู่จารีตประเพณีของชาวล้านนามาช้านาน ดังเช่น ความเชื่อในเรื่องเสียผี เกี่ยวกับสาวล้านนาที่ถูกเนื้อต้องตัวกับผู้ชาย ฉะนั้นฝ่ายชายจะต้องทำการใส่ผีให้กับฝ่ายหญิงทันที ซึ่งความเชื่อดังกล่าวแสดงถึงพื้นฐานของสังคมและวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับ “ผีบรรพบุรุษหรือผีปู่ย่า” เป็นอย่างมาก แม้กระทั่งการแสดงออกถึงความกตัญญูและเคารพยำเกรงต่อผีปู่ย่า ชาวล้านนาจะจัดพิธีฟ้อนผีขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงหน้าแล้ง (มีนาคม – มิถุนายน) เพื่อถวายเครื่องเซ่นสังเวยให้กับผีปู่ย่าประจำแต่ละตระกูล ทั้งยังเป็นการพบปะพูดคุยกันระหว่างผีปู่ย่ากับลูกหลานของตน หากใครมีเรื่องทุกข์ร้อนใจหรือมีอาการเจ็บป่วยใดๆ ที่แพทย์แผนปัจจุบันรักษาไม่ได้ ก็จะขอความช่วยเหลือจากผีปู่ย่าให้ช่วยรักษาด้วยการเป่ามนต์คาถา อันเป็นวิธีการที่ช่วยเยียวยาจิตใจแก่ผู้ป่วยได้มีกำลังใจที่ดีอีกครั้งหนึ่ง
พระพุทธศาสนา
บ่อเกิดแห่งความเชื่อความศรัทธา สร้างค่านิยมทางวัฒนธรรมด้านต่างๆ ไม่ว่าจะ เป็นด้านศิลปกรรม ด้านการปกครอง ด้านภาษา ตัวอักษร ด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่อาศัยปัจจัยสี่ คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค แม้ว่าชาวล้านนาจะมีศรัทธาแรงกล้าในพุทธศาสนาแต่ ความเชื่อดั้งเดิมเรื่องการนับถือ ผี ก็ยังปรากฏอยู่ในสังคมชาวล้านนา ความเชื่อทั้งสองอย่างนี้อยู่คู่เคียงกัน พระพุทธศาสนาในล้านนาจึงมีความโดดเด่นในการผสมผสานความศรัทธาและความเชื่อ การนับถือผี คติใน ศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธเข้าด้วยกัน
พุทธศาสนาในดินแดนล้านนา
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และตำนาน กล่าวกันว่าเริ่มขึ้นใน สมัยพระนางจามเทวี เมื่อพระองค์ได้ขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัยในราว พ.ศ. ๑๒๐๕ กษัตริย์ในราชวงค์ของ พระองค์สร้างความเป็นปึกแผ่นด้านพระพุทธศาสนาขยายวงกว้างออกไปและมีความเจริญมั่นคง จนกระทั่งถึง ปี พ.ศ. ๑๘๙๙ ในรัชกาลของพระญากือนา แห่งราชวงค์มังราย พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกา ที่ รุ่งเรืองอยู่ในกรุงสุโขทัยได้แพร่เข้ามาสู่อาณาจักรล้านนา พระญากือนา จึงแต่งราชทูตถือพระราชสาสน์ไปน้อม อาราธนาพระสุมนเถระ จากเมืองสุโขทัยมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองเชียงใหม่ และได้พระราชทานที่ดิน ถวายเพื่อสร้างวัดแด่พระสุมนเถระ พระราชทานนามวัดนี้ว่า วัดบุปผารามสวนดอกไม้ หรือวัดสวนดอกใน ปัจจุบัน
พระบรมธาตุดอยสุเทพ อันเป็นศรีเมืองเวียงพิงค์เชียงใหม่ ก็โปรดให้สร้างในรัชสมัยของพระองค์ พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆมาก็ได้ท านุบ ารุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เช่น รัชกาลพระญาสามฝั่งแกน มี พระสงฆ์ไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกามากกว่ายุคสมัยที่ผ่านมา รัชกาลพระญาติโลกราช ทรงอุปถัมภ์การ ท าสังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดมหาโพธาราม หรือวัดเจ็ดยอด เชียงใหม่ เป็นครั้งที่ ๘ ของโลก เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๒๐ เป็นต้น
คติความเชื่อเกี่ยวกับจักรวาลล้านนา
คติความเชื่อเรื่องจักรวาล ซึ่งแนวคิดดังกล่าว น่าจะได้รับ อิทธิพลมาจากศาสนาฮินดูโดยเนื้อหาหลักของแนวคิดนี้เป็นคติในการสร้างความสมดุลระหว่างโลกมนุษย์กับ จักรวาลโดยเชื่อว่าหาก จักรวาลเล็กซึ่งหมายถึงโลก เกิดความสมดุลย์กับจักรวาลใหญ่แล้ว จะเกิดความอุดม สมบูรณ์และความสงบสุขขึ้นในโลกมนุษย์ดังนั้นจึงออกแบบให้ผังวัดหรือศาสนสถานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตตุรัส อันเป็นตัว แทนของความสมดุลนั่นเอง
แนวคิดเรื่องจักรวาลเชื่อว่าศูนย์กลางของจักรวาล จะประกอบไปด้วย เขาพระสุเมรุ ในศาสนสถานของเขมรจะแทนด้วย ปรางค์ประธานซึ่งเป็นที่อยู่ของเทพสูงสุด คือพระศิวะ ส่วน ในพุทธศาสนาจะแทนด้วย พระธาตุเจดีย์หรือพระวิหาร ในแนวคิดเดียวกันแต่เปลี่ยนเป็นที่ประทับของ พระพุทธเจ้า ซึ่งศูนย์กลางจักรวาลนี้จะเป็นเสมือนตัวแทนอำนาจของพระมหากษัตริย์ไปด้วยใน เวลาเดียวกัน ในแนวคิดที่เชื่อว่ากษัตริย์คือสมมติเทพที่อวตารมาจากเทพ สูงสุดส่วนทางพุทธ ศาสนาก็เปรียบ พระมหากษัตริย์เสมือนธรรมราชาซึ่งเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า นั่นเององค์ประกอบทางด้านสถาปัตยกรรม อื่นๆ ที่อยู่ในผัง ล้วนสร้างโดยมีแนวคิดสอดคล้องกับคติจักรวาลทั้งสิ้น อาทิเช่น กำแพงสี่เหลี่ยมเปรียบเสมือน กำแพงจักรวาล พื้นทราย เปรียบเสมือนทะเลศรีทันดร ซุ้มโขง คือทางเข้าของป่าหิมพานต์ปราสาทเฟื้องบน สันหลังคาของพระวิหาร เปรียบเสมือนเขาสัตตบริภัณฑ์เจ็ดชั้น เป็นต้น
ซึ่งการอุปมาอุปมัยดังกล่าวล้วนเป็น เรื่องราวที่จำลองแผนผังของจักรวาลตาม ความเชื่อทางพุทธศาสนาลงไว้ในโลกมนุษย์เพื่อให้เกิดความอุดม สมบูรณ์นั่นเอง และแผนผังของวัดตามคติจักรวาลดังกล่าวนี้ ถือเป็นส่วนส าคัญที่สุด ที่ได้กลายมาเป็นเสมือน สิ่งที่ก าหนดบทบาทความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวล้านนา ไปด้วยในขณะเดียวกัน เนื่องจาก เมื่อเขตพุทธวาสห มายถึง พุทธภูมิหรือที่อยู่พระพุทธเจ้าผู้ที่บริสุทธิ์ หรือผู้ที่รู้แจ้งแล้ว ดังนั้น ภายในเขตพุทธวาสจึงเป็นเสมือน หนึ่งเป็นพื้นที่ที่บริสุทธิ์หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึง สวรรค์ตามความเชื่อของโลกทัศน์ชาวล้านนาดังนั้นชาวล้านนา จึงให้ความเคารพต่อ ศาสนสถานและเชื่อว่าการเข้าสู่เขตพุทธวาส เป็นการเข้าสู่พื้นที่บริสุทธิ์ เข้าใกล้สภาวะ ของการนิพาน
ข้อมูลอ้างอิงจาก