ภาษาเหนือ พูดกันอย่างไร
คำเมืองมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกันและไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับอักษรธรรมล้านนาซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแบบ
ภาษาเหนือ
เป็นภาษาถิ่นของจังหวัดในภาคเหนืองของไทย ซึ่งภาษาถิ่นนั้นถือว่าเป็นภาษาที่สวยงาม บ่งบอกถึงวัฒนธรรม เอกลักษณ์ ลักษณะความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาค ของแต่ละที่ได้เป็นอย่างดี โดยภาษาถิ่นเป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย ความเข้าใจกันระหว่างผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศใช้กัน
คำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย, พะเยา, ลำปาง, อุตรดิตถ์, แพร่ และน่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย) ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐชาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์
จำนวนนับแบบฉบับกำเมือง
1 = นึ่ง
2 = สอง
3 = สาม
4 = สี่
5 = ห้า
6 = ฮก
7 = เจ๋ด
8 = แปด
9 = เก้า
10 = ซิบ
11 = ซิบเอ๋ด
20 = ซาว
21 = ซาวเอ๋ด
120 = ร้อยซาว
1,000 = ปัน
1,100 = ปันเอ็ด
คำนาม สรรพนาม
ฉัน = เปิ้น (สุภาพ) , ฮา (ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)
เธอ = ตั๋ว (สุภาพ) , คิง (ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)
ผู้ชาย = ป้อจาย
ผู้หญิง = แม่ญิง
พวกเธอ = สูเขา (สุภาพ), คิงเขา (ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)
พวกเรา = หมู่เฮา, เฮาเขา
พ่อ = ป้อ
พี่ชาย = อ้าย
พี่สาว = ปี้
ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา = อุ้ย (เช่น แม่อุ้ย ป้ออุ้ย)
ตัวอย่างประโยค ภาษาเหนือน่ารัก เอาไว้บอกรักสำหรับหนุ่มๆ สาวๆ
เปิ้นฮักตั๋ว = ฉันรักเธอ
อ้ายฮักน้อง = พี่รักน้อง
ฮาฮักคิงหนาบ่ะเปื้อน = กูรักมึงนะโว๊ยเพื่อน
อ้ายลักเมาอี่น้อง = พี่แอบหลงรักน้อง
อ้ายฮักน้องคนเดียว = พี่รักน้องคนเดียว
ฮักไบ้ ฮักง่าว = รักมากมาย
ฮักเสี้ยงขี้ = รักสุดใจ
เปิ้นกึ๊ดเติงตั๋วหนา = ฉันคิดถึงเธอนะ
ง่อม กึ๊ดเติง ถ้า = เหงา คิดถึง รอ
สาวน้อยหน้าหมดต๋าใส = สาวน้อยหน้าใส
เป็นแฟนกั๋นน่อ = เป็นแฟนกันนะ
เป็นแฟนกั๋นบ๋อ = เป็นแฟนกันไหม
ฮักตั๋วคนเดียว = รักเธอคนเดียว
กึ๊ดเติงหาตั๋วกู้วัน = คิดถึงเธอทุกวัน
บ่มีวันได ตี้เปิ้นจะบ่กึ๊ดเติงหาตั๋ว = ไม่มีวันไหน ที่ฉันจะไม่คิดถึงเธอ
ฮักเตื้อแรก = รักครั้งแรก
อ้ายฮักน้องมั่นทึ้ง = พี่รักน้องแน่นหนัก
บอกฮัก = บอกรัก
น่าฮัก = น่ารัก
ตั้งแต่นี้ไป อ้ายจะฮักน้องคนเดียว = จากนี้ไป ฉันจะรักเธอคนเดียว
ตั๋วเป็นแฟนเปิ้นแล้ว = เธอเป็นแฟนฉันแล้ว
ฮักบ่มีวันต๋าย = รักไม่มีวันตาย
นอนกอดกั๋น อุ่นจุ้นลุ่น = นอนกอดกัน อุ่นดีจัง
ขอหยุบมือจิ่ม = ขอจับมือหน่อยนะ
มอกอี้ก่ดีล้ำไป = แค่นี้ก็ดีเกินไป
เปิ้นฮักตั๋วหนา = ฉันรักเธอนะ
ฮักหม๊ดไจ๋ = รักหมดใจ
ความฮักเป๋นอะหยัง ตี้สวยงาม = ความรักคือสิ่งสวยงาม
เปิ้นฮักตั๋วคนเดียว จะบ่ฮักไผแหมแล้ว = ฉันรักเธอคนเดียว จะไม่รักใครอีกแล้ว
อี่น้องคนนี้ น่าฮักขนาด = น้องสาวคนนี้ น่ารักมากมาย
คนน่าฮัก ผ่อจะได ตึงบ่ก้าย = คนน่ารัก มองยังไง ก็ไม่เบื่อ
ตัวอย่างประโยค คำทักทายภาษาเหนือ
สวัสดี๋คั๋บ ป้อแม่ปี้น้องทั้งหลาย = สวัสดีครับพ่อแม่พี่น้องทั้งหลาย
สบายดีบ๋อ = สบายดีไหม
เป๋นใดสบายดีบ๋อ = เป็นยังไง สบายดีไหม
บ่อป๊ะกั๋นจ้าดเมิน = ไม่เจอกันนานเลย
ไป๋ย่ะหยังอยู่ตี้ได๋ = ไปทำอะไรอยู่ที่ไหน
คำกริยา
โกรธ = โขด
กลับ = ปิ๊ก (เช่น “เฮาปิ๊กบ้านละหนา”)
กางร่ม = กางจ้อง
โกหก = วอก
กิน = กิ๋น
ก่าย = พาด พิง
ขโมย = ขี้ลัก
ขี่หลังคน(เกาะ) = เก๊าะ
ขี้เหนียว = ขี้จิ๊
คิด = กึ๊ด
เครียด = เกี้ยด
จริง = แต๊(เช่น “แต๊ก๊ะ” = “จริงหรอ”)
เจ็บ = เจ๊บ
ใช้ = ใจ๊
ดู = ผ่อ
เด็ก = ละอ่อน
ตกคันได = ตกบันได
เที่ยว = แอ่ว
ทำ = ยะ(เช่น “ยะหยัง” = “ทำอะไร”)
นั่งพับเพียบ = นั่งป้อหละแหม้
นั่งขัดสมาธิ = นั่งขดขวาย
นั่งยอง ๆ = นั่งข่องเหยาะ,หย่องเหยาะ
นั่งไขว่ห้างเอาเท้าข้างหนึ่งพาดบนเข่า = นั่งปกขาก่ายง้อน
นั่งวางเฉย นั่งหัวโด่ = นั่งคกงก(ก๊กงก)
นั่งลงไปเต็มที่ตามสบาย(โดยไม่กลัวเปื้อน) = นั่งเป้อหละเหม้อ, นั่งเหม้อ
พูด = อู้
รัก = ฮัก
รู้ = ฮู้
ลื่นล้ม = ผะเริด
วิ่ง = ล่น
สวมรองเท้า = ซุบแข็บ
สะดุด = ข้อง
สวยจังเลยนะ = งามหลายน้อ
สบายอกสบายใจ = ซว่างอกซว่างใจ๋
เหรอ = ก๊ะ
ห่วง = ห่วง (คำเมืองแท้ๆคือ อ่วง ว้อง หรือ ข๋าง)
เหนื่อย = อิด
ให้ = หื้อ
อยาก = ไข้
อยากอ้วก อยากอาเจียน = ใข้ฮาก
อร่อย = ลำ
อร่อยมาก = จ๊าดลำ
อย่าพูดมาก = จ๊ะไปปากนัก
อย่าพูดเสียงดัง = จ๊ะไปอู้ดัง
ไปด้วยกัน = ไปส่ง
สถานที่
เรือน = เฮือน
โรงเรียน = โฮงเฮียน
โรงบาล = โฮงบาล
ร้านค้า = ร้านก้า
กระท่อม = ห้าง
คำวิเศษณ์ และอื่นๆ
ก็ = ก่อ
โง่ = ง่าว
เช่น = เจ้น
ถึง = เติง
ใช่ = แม่น / ใจ๊
ไม่ = หมะ / บ่ะ (เช่น หมะใจ๊, บ่ะแม่น= ไม่ใช้)
นะ = เน้อ (เช่น เน้อครับ = นะครับ)
เป็น = เป๋น
ร่มเงา = ฮ่ม
ร่มกันแดด-กันฝน = จ้อง
ใหญ่ = หลวง (เช่น “หูหลวง” = “หูใหญ่”)
เหนียว = ตั๋ง
พืช ผัก ผลไม้ ภาษาเมือง
มะละกอ = ม่ะก้วยเต้ศ
กล้วยน้ำว้า = ก้วยอ่อง
มะตูม = ม่ะปีน
ส้มเขียวหวาน = ส้มเกลี้ยง
แตงล้าน = ม่ะแต๋งซั้ง ( ร้านที่ทำให้เครือแตงพันขึ้นไป ทางเหนือเรียกว่า ซั้ง )
น้อยหน่า = ม่ะหน้อแหน้
บวบงู = ม่ะนอย
มะเขือเปราะ = ม่ะเขือผ่อย
มะเขือยาว = ม่ะเขือขะม้า – – ออกเสียง ม่ะเขือขะม่า
มะระขี้นก = ม่ะห่อย
แตงกวา = หมะแต๋ง
กล้วย = เชียงใหม่ เรียก ก้วยใต้ ลำปาง เรียก ก้วยลิอ่อง หรือ ก้วย โก๊ย
กล้วยน้ำว้า = ก้วยใต้
พุทรา = หมะตัน
ละมุด = หมะมุด
กระท้อน = หมะตื๋น หมะต้อง
มะปราง = หมะผาง
ฝรั่ง = บ่ะก้วย ,ก้วยก๋า ,ก้วยเปา
ขนุน = หมะหนุน,บ่ะหนุน
มะพร้าว = หมะป๊าว
ส้มโอ = หมะโอ
ฟักทอง = หมะฟักแก้ว
ฟักเขียว = หมะฟักหม่น
มะแว้ง = หมะแขว้งขม
มะเขือพวง = หมะแขว้ง
ลูกยอ = หมะต๋าเสือ
มะเขือเทศ = บ่ะเขือส้ม
กระท้อน = บะตึ๋น
ตะไคร้ = ชักไคร
คึ่นช่าย = ผักกะพึน,กำพึน (กะปึน)
ผักตำลึง = ผักแคบ
ชะพลู = ผักแค ใบปูนา ปูลิง
สัตว์ในกำเมือง
จิ้งหรีด = จิ้กุ่ง,จิ้หีด
ค้างคก = ค้างคา
ลูกอ๊อด = อีฮวก
ปลาไหล = ปลาเอี่ยน ปลาเหยี่ยน
จิ้งเหลน = จั๊ก-กะ-เหล้อ
กิ้งก่า = จั๊ก-ก่า
ปู = ปู๋
ปลา = ป๋า
ช้าง = จ๊าง
เครื่องใช้
กรรไกร = มีดยับ
กระดุม = บะต่อม
เข็มขัด = สายแอว
ช้อน = จ๊อน
ตะหลิว = ป้าก
ถุงเท้า = ถุงตีน
ผ้าเช็ดตัว = ผ้าตุ้ม
ผ้าห่ม = ผ้าต๊วบ
ยาสูบ = ขี้โย
รองเท้า = เกือก /เกิบ
รองเท้าฟองน้ำ = เกิบแตะ
สี
ดำคึลึ = คนอ้วนล่ำผิวดำ
ดำผืด = ฝูงนกฝูงกาขนดำอยู่เป็นฝูง
ดำคุมมุม = ดำสลัวอยู่ในความมืด
ดำขิกติ้ก = ดำซุปเปอร์
ดำคิมมิม = คนผอมกระหร่อง ผิวดำ
ดำเหมือนเเหล็กหมก = ดำเหมือนเหล็กไหม้ไฟ
ดำเหมือนหมิ่นหม้อ = ดำเหมือนเขม่าติดหม้อดินที่ไหม้ไฟ
ดำผึด = ดำทั่วทั้งแถบ
ดำผึดำผึด = ดำมากๆทั่วๆไป
แดงฮ่าม = แดงอร่าม
แดงเผ้อเหล้อ = แดงเป็นจุดใหญ่จุดเดียว
แดงปะหลึ้ง = แดงจัดมาก
แดงปะหลิ้ง = แดงอมชมพู แดงเป็นจุดเล็กๆ
เหลืองฮ่าม = เหลืองอร่าม
เหลืองเอิ่มเสิ่ม = เหลืองอมส้ม
เขียวอุ้มฮุ่ม = เขียวแก่
เขียวปึ้ด = เขียวจัดมาก
มอยอ้อดฮ้อด = สีน้ำตาลหม่น
ขาวจั๊วะ = ขาวนวล
ขาวโจ๊ะโฟ้ะ = ขาวมากๆ
ขาวเผื้อะขาวเผือก = มองไปทางไหนก็ขาวไปหมด
เปิดเจ้อะเห้อะ = สีขาวซีด
หม่นซ้อกป้อก = หม่นมัวหรือเทาอ่อน
หม่นโซ้กโป้ก = หม่นสกปรกหรือสีเทาแก่
หมองซ้อกต๊อก = ดูเก่า หรือซีด จืดไป
เส้าแก๊ก = สีหม่นหมองมาก
เส้าตึ้มตื้อ = ใบหน้าหมองคล้ำ สีมืดไม่สดใส
ลายขุ่ยหยุ่ย = ลายพร้อย หรือลายเป็นดอกดวง
ใสอ้อดหล้อด = สดใสแบบอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ
ใส่ยงยง = สว่างจ้า
กลิ่น รส
เหม็นโอ๊ง, เหม็นโอ่ = เหม็นเน่า
จ๋างแจ้ดแผ้ด = จืดชืด
ขมแก๊ก = ขมมาก
ส้มโจ๊ะโล๊ะ = รสเปรี้ยวมาก
ฝาดหยั่งก้นตุ๊ = รสฝาดมาก
คำด่า
จัง = เกลียด
ไอ้ = บ่า
อี = อี่
ง่าว = โง่
ง่าวใบ้ง่าวง่าว = โคตรโง่
สลิด = ระริกระรี้
สลิดอย่างวอก = ดัดจริต
แฮ่น = ร่าน
ขี้จุ๊ / ขี้วอก = โกหก
จ๊าดหมา = ชาติหมา
สึ่งตึง = ปัญญาอ่อน
จะไปปาก = หุบปาก
หยั่งวอก = ปลิ้นปล้อน, กลับกลอก
จะไปไปไป
ไป = ไป
มา = มา
อย่ามา = ไปมา
อย่าไป = ไปไป
ไม่ควรมา = จะไปมา
ไม่ควรไป = จะไปไป
อย่าไปเด็ดขาด = จะไปไปไป
ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่จะไป = จะไปดีไป