ทำไมคนเหนือชอบกินข้าวเหนียว สำหรับคนภาคกลางที่กินข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก เราจะมักคุ้นเคยกับข้าวเหนียวที่นำไปทำขนมหวาน หรือไม่ก็เมนูฮิตอย่างข้าวส้มตำมากกว่า แต่คนภาคเหนือ (และอีสาน) นั้นกินข้าวเหนียวทุกวันกับเมนูอาหารคาวต่างๆ ที่เป็นเมนูพื้นบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำพริกแกล้มผักต่างๆ หรือเมนูแกงพื้นบ้านที่มีมากมายหลากหลายชนิดที่แต่ละบ้านได้รับสืบทอดมาจากปู่ย่าตายาย
จุดเริ่มต้น
อาจจะต้องย้อนกลับไปหลายพันปี เพราะมีการค้นพบซอสซิลที่เมล็ดข้าวอายุกว่า 5,400 ปี อยู่ที่ถ้ำปุงฮุง จ.แม่ฮ่องสอน แสดงให้เห็นว่าสมัยโบราณ พื้นที่แถบนั้นมีต้นข้าวเจริญเติบโตอยู่ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาค้นคว้าสืบเนื่องต่อมาเนิ่นนาน ได้ค้น พบข้าวกว่า 1,000 สายพันธุ์ ทั้งข้าวเหนียวขาว ข้าวเหนียวดำ และข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวเป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวางในประเทศ และเป็นอาหารหลักของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ นอกจากการบริโภคโดยตรงแล้วยังมีการนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราพื้นเมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยว
ตั้งแต่อดีตคนภาคเหนือนิยมเพาะปลูกข้าวเหนียวเพื่อบริโภคในครัวเรือน อาจมีการสลับปลูกข้าวเจ้าบ้างบางที แต่ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวเหนียวมากกว่า ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่มีพื้นที่ราบและพื้นที่ภูเขาสูงที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ รวมกับภูมิอากาศที่ไม่ร้อนจัด ทำให้ข้าวแผ่นดินถิ่นเหนือมีเอกลักษณ์ต่างจากที่อื่น ทั้งความนุ่มเหนียว และความหอม
บางคนกำลังคิดว่า “เอ้ะ ปกติข้าวเหนียวนี่กินทีไรก็ง่วงนอนทุกที คนเหนือกินข้าวเหนียวทุกมื้อ ไม่ง่วงทุกมื้อเลยเหรอ?”
มันก็จริงที่ข้าวเหนียวเป็นข้าวที่มีโมเลกุลใหญ่ ทำให้ร่างกายต้องใช้พลังงานสูงในการย่อย จึงทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียง่วงนอนได้ง่าย แต่สิ่งนี้อาจจะไม่ส่งผลต่อคนภาคเหนือ เพราะอาชีพหลักของพวกเขาคือ เกษตรกรรม
ตั้งแตสมัยก่อน รุ่นปู่ย่าตายายที่แต่ละคนต้องตื่นเช้าออกไปทำนา หรือขึ้นดอยไปเก็บผลผลิตต่างๆ ซึ่งเป็นงานหนักที่ต้องใช้กำลังมาก การที่คนภาคเหนือกินข้าวเหนียวที่มีพลังงานสูง จะช่วยให้พวกเขาอยู่ท้องได้นานขึ้น
นอกจากนั้นด้วยวัฒนธรรมการกินที่เน้นความเรียบง่าย อาหารส่วนใหญ่จะเน้นไปทางผักพื้นบ้านที่ขึ้นอยู่ทั่วไป นำมาทำน้ำพริก หรือแกงแบบน้ำขลุกขลิก ปั้นขาวเหนียวเป็นก้อนแล้วจิ้ม(หรือจก) กินแกล้มผักสด/ผักป่า ห่อนำไปกินที่ไร่นาให้จบมื้อก่อนเริ่มงานต่อไป
นอกจากนั้น คนภาคเหนือยังมีถาดตั้งสำรับ หรือที่เรียกกันว่า “ขันโตก”
ซึ่งเป็นหนึ่งเอกลักษณ์ของภาคเหนือ นิยมใช้ทั้งในครัวเรือน หรือในงานบุญ งานสำคัญต่างๆ ปัจจุบันมีการนำมาใช้ในร้านอาหารเหนือ ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเยี่ยมชมวัฒนธรรมท้องถิ่น
ปัจจุบัน วิถีชีวิตของคนภาคเหนือก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา หากไปในเมืองจะเห็นถึงความพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจที่ตอนนี้หลายจังหวักในภาคเหนือต่างเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม แต่ในบางภูมิภาคก็ยังคงดำเนินวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมอยู่
อ้างอิงข้อมูลจาก