ประวัติหอนาฬิกาเชียงราย
หอนาฬิกาเปลี่ยนสี งานพุทธศิลป์ จ.เชียงราย เป็นงานศิลปะที่แฝงด้วยกลิ่นอายพระพุทธศาสนา นับเป็นสมบัติอันล้ำค่าของจังหวัดเชียงราย สร้างขึ้นเพือเป็นหอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ที่สวยที่สุดในประเทศไทย ดำเนินการสร้างมาตั้งแต่ปี 2548 ออกแบบโดย อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
หอนาฬิกาเชียงราย
ในเขตเทศบาลนครเชียงรายมีหอนาฬิกาตั้งอยู่ 2 จุดโดยจุดแรกมีการเคลื่อนย้ายหอนาฬิกาเก่าไปตั้งไว้ที่ตลาดสดเทศบาล บริเวณสามแยกโรงรับจำนำ อยู่ห่างจากจุดก่อสร้างหอนาฬิกาใหม่ไปประมาณ 800 เมตร ดำเนินการมาหลายปีแล้ว โดยหลายฝ่ายตั้งเป้าให้หอนาฬิกาทั้ง 2 จุด คือ สัญลักษณ์ใหม่ของเมืองเชียงราย
ความเป็นมาของหอนาฬิกา
หอนาฬิกาอาจารย์เฉลิมชัย หรือชื่อที่เป็นทางการว่า หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ (หอนาฬิกาพุทธศิลป์) ตั้งอยู่ที่กลางตัวเมืองเชียงราย ถนนบรรพปราการ – ถนนเจ็ดยอด (ใกล้เชียงรายไนท์บาร์ซ่าร์ – ถนนคนเดิน) ได้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ โดยมีอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เป็นผู้ออกแบบ ใช้เวลาสร้าง 5 ปี เป็นหอนาฬิกาสีทองที่มีความสวยงาม มีลวดลายแบบไทย และสามารถเปลี่ยนสีได้ในตอนกลางคืน เป็นงานศิลปะเชิงพระพุทธศาสนา ในเวลา 19.00, 20.00, 21.00 น. ของทุกวันไฟจะเปลี่ยนสี พร้อมกับมีเสียงเพลงเชียงรายรำลึก
หอนาฬิกานี้ตั้งอยู่ใจกลางเทศบาลนครเชียงราย บริเวณถนนบรรพปราการ ในตัวเมืองเชียงราย โดดเด่นด้วยศิลปะการก่อสร้างเหมือนกับวัดร่องขุ่น ที่ออกแบบโดย อ.เฉลิมชัย และเริ่มเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 สิงหา 2551เพื่อเฉลิมพระชนมพรรษาองค์พระราชินี หอนาฬิกาแห่งนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น หอนาฬิกาเชียงราย, หอนาฬิกาเปลี่ยนสี, หอนาฬิกาพุทธศิลป์, หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ, หอนาฬิกาใหม่, หอนาฬิกา อ.เฉลิมชัย เป็นต้น