วิธีทำแกงกระด้าง

by | Feb 8, 2023 | อาหารเหนือ

วิธีทำแกงกระด้าง

แกงกระด้าง

วิธีทำแกงกระด้าง สำเนียงที่ถูกต้องคือ ‘แก๋งกะด้าง’ เพราะภาษาไทยถิ่นเหนือไม่มีเสียงควบกล้ำ ร.เรือ และ ล.ลิง มีชื่อเล่นอยู่บ้างประปรายตามท้องถิ่น เช่น แกงด้าง หมูกระด้าง หรือหมูหนาว นิยมทำกันอย่างแพร่หลายในเขตภาคเหนือ

เมนูแกงกระด้าง

นับเป็นเมนูแห่งฤดูกาลอีกจานหนึ่งที่จะขาดไปจากขันโตกไม่ได้เมื่อลมหนาวเดินทางมาถึง คนเหนือเรียนรู้จากความหนาวเย็น สร้างเป็นเมนูอาหารที่มีเจลาตินธรรมชาติจากสัตว์เป็นวัตถุดิบชูโรง เหตุที่เรียกแกงกระด้างว่าเป็นเมนูแห่งฤดูกาลก็เพราะเดิมทีแกงกระด้างมีลมหนาวเป็นวัตถุดิบหลักในการปรุง น้ำแกงข้นคลั่กที่เกิดจากการเคี่ยวหนังหมูจะถูกทิ้งไว้ข้ามคืนในอากาศเย็น ๆ เพื่อให้ฟอร์มตัวเป็นเยลลีหนุบหนับ พร้อมตัดเสิร์ฟในตอนเช้า และนี่อาจเป็นที่มาว่าเหตุใดแกงที่ไม่มีน้ำแกงนี้จึงเป็นที่นิยมเฉพาะในภาคเหนือซึ่งมีอากาศหนาวเย็นตั้งแต่ช่วงสิ้นปีไปจนถึงเดือนสองเดือนสาม

วัตถุดิบ

วิธีแกงกระด้าง

ลำดับ

วัตถุดิบ

จำนวน

1

ขาหมู

300 กรัม

2

กระเทียม

20 กลีบ

3

พริกไทย

1/2 ช้อนโต๊ะ

4

รากผักชี

3 ราก

5

ผักชี

1 ช้อนโต๊ะ

6

ต้นหอม

1 ช้อนโต๊ะ

7

เกลือ

1/2 ช้อนชา

วิธีทำ

1. ล้างขาหมูให้สะอาด เลาะเอากระดูกออก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ

2. นำขาหมูที่หั่นแล้วไปต้ม เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง

3. โขลกกระเทียม พริกไทย และรากผักชี รวมกันให้ละเอียด

4. ใส่ส่วนผสมที่โขลกลงในหม้อต้มขาหมู ตามด้วยเกลือ ต้มต่อสักครู่

5. เทใส่ถาด นำใส่ตู้เย็น จนแข็งตัว หรือในหน้าหนาว ทิ้งไว้ค้างคืน แกงจะแข็งตัวเอง โรยหน้าด้วยผักชีซอยและต้นหอมซอย

เคล็ดลับในการปรุง/เลือกส่วนผสม

  • เคล็ดลับในการปรุง

ขาหมูควรเผาไฟก่อน เพื่อให้ขนหลุดออกง่าย

  • เคล็ดลับในการเลือกส่วนผสม

ขาหมู ควรสดและใหม่ เลือกที่หนังไม่หนาเกินไป

แกงกระด้าง

เชื่อกันว่าเมนูหนุบหนับแห่งฤดูกาลเหล่านี้ไม่ได้มีต้นกำเนิดที่ใดที่หนึ่งแล้วแพร่ออกไป หากแต่เกิดขึ้นในลักษณะใกล้เคียงกันเพราะความคล้ายคลึงของสภาพอากาศ ความนิยมในการบริโภคเนื้อสัตว์ และที่สำคัญคือความช่างสังเกตของคนแต่ละชนชาติที่หยิบเอาคุณสมบัติตามธรรมชาติของวัตถุดิบมาสร้างสรรค์ให้เป็นความอร่อยได้เสมอไม่ว่าจะอยู่ในเงื่อนไขใด

You May Also Like…

ผักพื้นบ้านทั้ง 4 ภาค

ผักพื้นบ้านทั้ง 4 ภาค

สารบัญผักพื้นบ้านคืออะไร ?ประโยชน์ของผักพื้นบ้านผักพื้นบ้านประจำท้องถิ่นภาคเหนือภาคกลางภาคอีสานภาคใต้ หากพูดถึง...