ต้นกำเนิดอาณาจักรล้านนา
ต้นกำเนิดอาณาจักรล้านนา ล้านนาเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจและรุ่งเรืองอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย ลาว และพม่าในปัจจุบันตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 ถึงพุทธศตวรรษที่ 18 ชื่อ “ล้านนา” ในภาษาท้องถิ่นหมายถึง “นาข้าวล้าน” สะท้อนถึงความสำคัญของการเกษตรต่อภูมิภาค ปี พ.ศ. ในการก่อตั้ง อาณาจักรนี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1259 โดยพ่อขุนเม็งราย ผู้ซึ่งรวบรวมนครรัฐเล็กๆ หลายแห่งภายใต้การปกครองของเขา พระองค์ทรงสถาปนาเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองหลวง และยังคงเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมและการเมืองล้านนามานานหลายศตวรรษ ในช่วงรุ่งเรือง ล้านนาเป็นที่รู้จักในด้านความมั่งคั่ง วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม ราชอาณาจักรนี้มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีนและพม่า และเป็นศูนย์กลางการค้าและการพาณิชย์ที่สำคัญ ล้านนายังเป็นที่รู้จักในด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งผสมผสานองค์ประกอบจากอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารตั้งอยู่นอกเมืองเชียงใหม่ เป็นตัวอย่างที่สำคัญของสถาปัตยกรรมล้านนาที่มีหลังคาฉัตรที่โดดเด่นและการแกะสลักที่ประณีต ล้านนาเสื่อมลงในพุทธศตวรรษที่ 16 และ 17 เนื่องจากสงครามและความขัดแย้งกับอาณาจักรข้างเคียง ในที่สุดก็ถูกดูดซึมเข้าสู่อาณาจักรสยามที่ใหญ่ขึ้น (ประเทศไทยในปัจจุบัน) ในปลายศตวรรษที่ 18 ปัจจุบัน มรดกของล้านนายังคงปรากฏให้เห็นในศิลปะ วัฒนธรรม และอาหารทางภาคเหนือของประเทศไทย ภูมิภาคนี้เป็นที่รู้จักจากการผสมผสานเอกลักษณ์ของประเพณีล้านนาแบบดั้งเดิมเข้ากับอิทธิพลสมัยใหม่ และยังคงเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักเดินทางที่ต้องการสัมผัสประสบการณ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันยาวนานของภูมิภาคนี้ ประวัติศาสตร์ล้านนา เริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 13 เมื่อพ่อขุนเม็งราย ผู้ปกครองนครรัฐเงินยางได้ก่อตั้งเมืองเชียงรายและก่อตั้งล้านนาในภาคเหนือของประเทศไทย […]
แมง 4 หู 5 ตา
แมง 4 หู 5 ตา เป็นสัตว์ในตำนาน มีลักษณะตัวอ้วนเตี้ยเหมือนหมีสีดำ และมีขนยาวสีดำปกคลุมร่างกาย มีหูสองคู่และมีตาห้าดวง โดยที่ดวงตาของแมงสี่หูห้าตาเป็นสีเขียว กินถ่านไฟร้อนๆ เป็นอาหาร และถ่ายอุจจาระออกมาเป็นทองคำ ตำนาน “แมงสี่หูห้าตา” เรื่องนี้เล่าสืบต่อกันมาในตำนานของชาวล้านนา ทางภาคเหนือ มีการบันทึกเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์อักษรในใบลาน ซึ่งมีปรากฏให้เห็นตามวัดทั่วไป ในตำนานครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา จังหวัดลำพูน ก็ได้กล่าวถึงสัตว์ชนิดนี้ โดยเชื่อมโยงจำนวนสี่หูและห้าตาเข้ากับหลักคำสอนทางพุทธศาสนา แสดงถึงหลักธรรมพรหมวิหาร 4 และ ศีล 5 ส่วนตำนาน “แมงสี่หูห้าตา” ของ “วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว” อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว และถือเป็นตำนานของแมงสี่หูห้าตาฉบับที่ถูกต้องที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องราวของ “อ้ายทุกคตะ” เล่ากันว่าเมื่อพันกว่าปีมาแล้ว มีเมืองแห่งหนึ่งนามว่า พันธุมติ มีกษัตริย์ปกครองเมืองชื่อ ท้าวพันธุมติ ในเมืองนี้มีครอบครัวพ่อแม่ลูกมีอาชีพรับจ้างเลี้ยงควาย หาฟืน ลูกคนนี้ชื่อว่า “อ้ายทุกคตะ” เมื่ออายุได้สี่ขวบ แม่ก็มาตายจากไป เมื่ออ้ายทุกคตะอายุได้ 12 ปี พ่อก็ป่วยหนัก […]
ทำไมคนเหนือชอบกินข้าวเหนียว
ทำไมคนเหนือชอบกินข้าวเหนียว สำหรับคนภาคกลางที่กินข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก เราจะมักคุ้นเคยกับข้าวเหนียวที่นำไปทำขนมหวาน หรือไม่ก็เมนูฮิตอย่างข้าวส้มตำมากกว่า แต่คนภาคเหนือ (และอีสาน) นั้นกินข้าวเหนียวทุกวันกับเมนูอาหารคาวต่างๆ ที่เป็นเมนูพื้นบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำพริกแกล้มผักต่างๆ หรือเมนูแกงพื้นบ้านที่มีมากมายหลากหลายชนิดที่แต่ละบ้านได้รับสืบทอดมาจากปู่ย่าตายาย จุดเริ่มต้น อาจจะต้องย้อนกลับไปหลายพันปี เพราะมีการค้นพบซอสซิลที่เมล็ดข้าวอายุกว่า 5,400 ปี อยู่ที่ถ้ำปุงฮุง จ.แม่ฮ่องสอน แสดงให้เห็นว่าสมัยโบราณ พื้นที่แถบนั้นมีต้นข้าวเจริญเติบโตอยู่ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาค้นคว้าสืบเนื่องต่อมาเนิ่นนาน ได้ค้น พบข้าวกว่า 1,000 สายพันธุ์ ทั้งข้าวเหนียวขาว ข้าวเหนียวดำ และข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวเป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวางในประเทศ และเป็นอาหารหลักของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ นอกจากการบริโภคโดยตรงแล้วยังมีการนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราพื้นเมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยว ตั้งแต่อดีตคนภาคเหนือนิยมเพาะปลูกข้าวเหนียวเพื่อบริโภคในครัวเรือน อาจมีการสลับปลูกข้าวเจ้าบ้างบางที แต่ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวเหนียวมากกว่า ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่มีพื้นที่ราบและพื้นที่ภูเขาสูงที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ รวมกับภูมิอากาศที่ไม่ร้อนจัด ทำให้ข้าวแผ่นดินถิ่นเหนือมีเอกลักษณ์ต่างจากที่อื่น ทั้งความนุ่มเหนียว และความหอม บางคนกำลังคิดว่า “เอ้ะ ปกติข้าวเหนียวนี่กินทีไรก็ง่วงนอนทุกที คนเหนือกินข้าวเหนียวทุกมื้อ ไม่ง่วงทุกมื้อเลยเหรอ?” มันก็จริงที่ข้าวเหนียวเป็นข้าวที่มีโมเลกุลใหญ่ ทำให้ร่างกายต้องใช้พลังงานสูงในการย่อย จึงทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียง่วงนอนได้ง่าย แต่สิ่งนี้อาจจะไม่ส่งผลต่อคนภาคเหนือ เพราะอาชีพหลักของพวกเขาคือ เกษตรกรรม ตั้งแตสมัยก่อน รุ่นปู่ย่าตายายที่แต่ละคนต้องตื่นเช้าออกไปทำนา หรือขึ้นดอยไปเก็บผลผลิตต่างๆ ซึ่งเป็นงานหนักที่ต้องใช้กำลังมาก การที่คนภาคเหนือกินข้าวเหนียวที่มีพลังงานสูง […]
ศิลปะล้านนา
ศิลปะล้านนา หรือ ศิลปะเชียงแสน มีลักษณะเก่าแก่มาก คาดว่ามีการสืบทอดต่อเนื่องของศิลปะทวาราวดี และลพบุรี ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยหริภุญชัย ศูนย์กลางของศิลปะ ล้านนาเดิมอยู่ที่เชียงแสน เรียกว่าอาณาจักรโยนก ต่อมาเมื่อพญามังรายได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางของของอาณาจักรล้านนาอยู่ที่ เมืองเชียงใหม่ สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมยุคแรกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ได้รับอิทธิพลจากศิลปะหริภุญชัยและศิลปะพุกามจากพม่า ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย ต่อมาในศิลปะต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 ถือเป็นยุคทอง มีการสร้างวัดและเจดีย์มากมาย ยุคถัดมาในช่วงกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 อาณาจักรล้านนาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า ถือเป็นยุคเสื่อม สถาปัตยกรรมในช่วงยุคทองมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับการเผย แพร่พุทธศาสนาลังกาวงส์ หรือ นิกายรามัญ ได้แรงบันดาลใจทั้งจากงานสถาปัตยกรรมในยุคก่อน อิทธิพลจากสถาปัตยกรรมภายนอกดังเช่นสุโขทัย พม่าสมัยพุกาม เป็นต้น เจดีย์ที่สืบทอดรูปแบบในช่วงก่อน ตัวอย่างเช่น เจดีย์วัดพญาวัด เมืองน่าน คงสืบทอดรูปแบบเจดีย์ทรงปราสาทแบบเจดีย์กู่กุดและกู่คำ นอกจากนั้นยังพบกลุ่มเจดีย์ทรงระฆังที่เริ่มปรับรูปแบบจากผังกลมไปเป็นผัง หลายเหลี่ยม ดังตัวอย่างของเจดีย์วัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นต้นและเจดีย์ทรงปราสาทยอดทรงระฆัง เช่น เจดีย์บรรจุอัฐิพระเจ้าติโลกราช วัดเจ็ดยอด ที่สร้างในรัชกาลพระเมืองแก้ว และมีเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมสุโขทัย ดังตัวอย่างสำคัญที่เจดีย์วัดป่าแดง เชียงใหม่และวัดป่าแดงบุญนาค เมืองพะเยา ที่เด่นชัดทางรูปแบบเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย รูปแบบของวิหารในช่วงยุคทอง […]
เงินตราสมัยล้านนา
เงินตราของอาณาจักรล้านนามีหลายประเภท อาทิ เงินเจียง (เงินขาคีม) และเงินท้อก ในส่วนของเงินท้อกนั้น สามารถแบ่งได้เป็นตามแหล่งผลิต อาทิ เงินท้อกลำปาง (เรียกอีกอย่างว่าเงินท้อกวงตีนม้า) เงินท้อกเชียงใหม่ เงินท้อกน่าน เงินตราสมัยล้านนา ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 บริเวณที่เป็นอาณาจักรล้านนามีการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนเกษตรกรรมขนาดใหญ่ คือ ชุมชนแถบลุ่มแม่น้ำปิงและชุมชนแถบลุ่มแม่น้ำกก เช่น อาณาจักรหริภุญไชย อาณาจักรโยนกเชียงแสน เมืองละโว้ รวมไปถึงยูนนานในประเทศจีน โดยอาณาจักรที่เป็นอิสระทุกอาณาจักรนั้น นอกจากจะมีการปกครองเป็นของตนเองแล้วยังมีระบบเงินตราเป็นของตนเองด้วย เพื่อใช้ภายในอาณาจักรและใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชุมชนและดินแดนที่ห่างไกล ในพื้นที่บริเวณที่เป็นอาณาจักรล้านนาในปัจจุบันนั้นเดิมเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติลัวะหรือละว้าซึ่งมีการใช้โลหะมีค่า เช่น ทองคำ เงิน ทองแดง และสำริดเป็นเงินตรา เมื่อพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่และสถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นได้สำเร็จในปี พ.ศ. 1839 ได้มีการใช้เงินตราในการค้าขายภายในอาณาจักรด้วย โดยอาณาจักรล้านนาได้กำหนดมาตรฐานระบบเงินตราของตนขึ้น ในช่วงแรกเป็นการใช้ก้อนเงินและก้อนโลหะต่าง ๆ ตัดแล้วชั่งน้ำหนักในการซื้อขายและชำระหนี้โดยควบคุมความบริสุทธิ์ของเงินตราตามกฎหมายมังรายศาสตร์ ขณะเดียวกันก็มีการใช้หอยเบี้ยเป็นเงินปลีกสำหรับใช้ซื้อข้าวปลาอาหารในชีวิตประจำวัน และเมื่ออาณาจักรแห่งนี้เจริญขึ้นในสมัยพญากือนา ล้านนาได้ผลิตเงินตราที่สำคัญขึ้นชนิดหนึ่ง คือ เงินเจียง ซึ่งถือเป็นเงินที่มีค่าสูงสุดในระบบเงินตราล้านนา หลังจากนั้นอาณาจักรล้านนาก็ใช้เงินตราที่เป็นเงินตราของแคว้นโยนกเชียงแสนเดิมทั้งหอยเบี้ย เงินท้อก เงินวงตีนม้า เงินหอยโข่ง และเงินปากหมู ร่วมกับกับเงินเจียงเรื่อยมาจนถึงสมัยที่ล้านนาตกอยู่ใต้การปกครองของพม่า จึงมีเงินตราของพม่าที่พวกไทใหญ่นำเข้ามาใช้ปะปนอยู่หลายชนิดและมีสภาพเป็นเช่นนั้นตลอดระยะเวลา 200 กว่าปี […]
ชาติพันธุ์ล้านนา
ถ้าพูดถึงดินแดนล้านนา กลุ่มชาติพันธุ์ไทอาศัยอยู่ก็มีกันอย่างหลากหลาย หลักๆก็จะมีกลุ่มไทยวนหรือคนเมือง กลุ่มไทลื้อ กลุ่มไทใหญ่ และกลุ่มไทเขิน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มคนไทอาศัยร่วมอยู่ด้วย ฉนั้นไปดูกันว่าแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีที่มาที่ไปกันอย่างไรบ้างครับ ไทยวน หรือคนเมือง คือกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย มักตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไหลผ่านระหว่างหุบเขา เช่น ลุ่มแม่น้ำปิงเป็นที่ตั้งของเมืองเชียงใหม่และลำพูน ลุ่มแม่น้ำวังเป็นที่ตั้งของเมืองลำปาง ลุ่มน้ำยมเป็นที่ตั้งของเมืองแพร่ และลุ่มแม่น้ำน่านเป็นที่ตั้งของเมืองน่าน เป็นต้น ชาวไทยวนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักตามภูมิประเทศที่อาศัยที่ตั้งถิ่นฐาน ชาวไทลื้อ ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณตอนใต้ของจีน มีเมืองเชียงรุ่ง ในเขตสิบสองปันนา มณฑลยูนาน เป็นศูนย์กลาง ชาวไทลื้อจึงมีประวัติศาสตร์ร่วมกับจีนมาเป็นเวลายาวนาน ในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมามีกลุ่มชาวไทลื้อบางส่วนได้อพยพและถูกกวาดต้อนลงมาอยู่ทางตอนเหนือของพม่า ตอนเหนือของลาว ตอนเหนือของเวียดนาม และทางตอนเหนือของประเทศไทย ในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ และน่าน เมื่อย้ายมาตั้งถิ่นฐานตามที่ต่างๆ แล้ว ชาวไทลื้อก็มีการปรับตัวเข้ากับท้องถิ่นได้อย่างกลมกลืน ไทเขิน หรือ ไทขึน เป็นชนชาติหนึ่งที่เรียกตนเองตามพื้นที่อยู่อาศัยในลุ่มแม่น้ำ “ขึน”โดยมีเมืองเชียงตุงเป็นศูนย์กลาง เป็นเมืองในหุบเขา อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน ในเขตการปกครอง สหภาพพม่า ภายหลังได้มีการกวาดต้อนชาวไทเขินบางส่วนลงมายังอำเภอเมือง และอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ว่างเว้นจึงทำงานหัตถกรรมประเภทเครื่องเงิน […]
บ้านดำอาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี
บ้านดำหรือพิพิธภัณฑ์บ้านดำ หนึ่งในผลงานศิลปินแห่งชาติอย่างอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ที่มีฝีมือทั้งทางด้านจิตรกรรม ปฏิมากรรม และผลงานศิลปะอีกมามาย สำหรับพิพิธภัณฑ์บ้านดำมีงานศิลปะเกี่ยวกับบ้านไม้ มีรูปแบบตามล้านนา บ้านปูนรูปทรงแปลกตา และเอกลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดก็คือบ้านเกือบทุกหลังเป็น ‘สีดำ’ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ‘บ้านดำ’ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) นายถวัลย์ ดัชนี เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2482 ที่จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรของนายศรี และนางบัวคำ (พรหมสา) ดัชนี เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 4 คน ได้แก่ พ.ต.สว่าง ดัชนี นายสมจิตต์ ดัชนี และนายวสันต์ ดัชนี สมรสกับนางคำเอ้ย มีบุตรชาย 1 คน คือ นายดอยธิเบศร์ ดัชนี ปัจจุบันเสียชีตลงด้วยอายุ 74 ปีในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2557 ที่โรงพยาบาลรามคำแหง กรุงเทพมหานคร ประวัติการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ นับแต่เรียนสำเร็จชั้นมัธยมที่จังหวัดเชียงราย […]
ประวัติหอนาฬิกาเชียงราย
หอนาฬิกาเปลี่ยนสี งานพุทธศิลป์ จ.เชียงราย เป็นงานศิลปะที่แฝงด้วยกลิ่นอายพระพุทธศาสนา นับเป็นสมบัติอันล้ำค่าของจังหวัดเชียงราย สร้างขึ้นเพือเป็นหอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ที่สวยที่สุดในประเทศไทย ดำเนินการสร้างมาตั้งแต่ปี 2548 ออกแบบโดย อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
ประวัติงานดอกไม้เชียงราย
งานเชียงรายดอกไม้งามจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 รูปแบบงานเป็นงานกล้วยไม้ และ สวนไม้ประดับ ผู้ริเริ่มจัดงานนี้คือคุณรัตนา จงสุทธนามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ) งานช่วงแรกๆ จัดขึ้นที่หาดเชียงราย (ริมน้ำกก) และ สวนไม้งามริมน้ำกก งานจัดมาจนถึงครั้งที่ 8 ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีนักนักเที่ยวมาชมความงามของดอกไม้ตลอดทั้งงานมากกว่า 1 ล้านคน ประวัติงานเชียงรายดอกไม้งาม เทศกาลงานเชียงรายดอกไม้งามจะถูกจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงรายในช่วงฤดูหนาวของทุกๆปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน ณ. บริเวณสวนไม้งามริมน้ำกก (ใกล้สนามบินแม่ฟ้าหลวงเชียงราย) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายโดยจะถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ เน้นกลิ่นไอวัฒนธรรมชนเผ่าที่เชียงรายมีมากกว่า 60 ชาติพันธุ์มาผสมผสานกับการจัดสวนไม้ดอก ประติมากรรมแห่งดอกไม้โดยมีการนำเทคนิคใหม่ๆ แสงสีเสียงมาปรุงแต่งกับการจัดสวนดอกไม้แบบโมเดิลดีไซด์ ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งวัน เชียงรายเป็นจังหวัดเหนือสุดของประเทศที่มีภูมิประเทศที่สวยงาม มีความโดดเด่นด้วยเอกลักษณ์ของชาวล้านนา ผสมผสานกับศิลปวัฒนธรรมอันหลากหลายของชาติพันธุ์ต่างๆ และภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการทำการปลูกดอกไม้เมืองหนาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาว ซึ่งอากาศเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไม้ดอก ไม้ประดับที่มีความสวยงามแปลกตา ทั้งสีสันและชนิดพันธุ์ที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ จึงทำให้จังหวัดเชียงรายได้รับการยอมรับว่าเป็นเมืองแห่งดอกไม้งามมาโดยตลอด วัตถุประสงค์ในการจัดงาน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีล้านนาและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของจังหวัดเชียงรายตลอดจนเปิดโอกาสให้กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพต่าง ๆ […]