เมนูอาหารเหนือ ที่ลองแล้วต้องติดใจ
ร้านอาหารเหนือ เป็นร้านอาหารที่นำเสนอเมนูและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือของประเทศไทย โดยเน้นวัตถุดิบและวิธีการปรุงที่สะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่น ตัวอย่างอาหารเหนือที่นิยม เช่น ข้าวซอย (ก๋วยเตี๋ยวน้ำแกงใส่กะทิ), แกงฮังเล (แกงหมูรสชาติเข้มข้นใส่ขิงและเครื่องเทศ), น้ำพริกหนุ่ม(น้ำพริกจากพริกเขียวเผา), และ ไส้อั่ว (ไส้กรอกหมูย่างใส่เครื่องเทศเหนือ) จุดเด่นของอาหารเหนือคือรสชาติที่ไม่เผ็ดจัด แต่จะมีความหอมของสมุนไพรและเครื่องเทศ เช่น กระเทียม, ข่า, ตะไคร้ และมักเน้นการใช้วัตถุดิบท้องถิ่น เช่น ผักพื้นบ้านและเนื้อสัตว์ที่หาได้ในพื้นที่ ร้านอาหารเหนือมักจะตกแต่งด้วยบรรยากาศแบบพื้นเมืองล้านนา เช่น การใช้ไม้ไผ่ ผ้าพื้นเมือง และลวดลายแบบล้านนา เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศในการรับประทานอาหาร สารบัญ Add a header to begin generating the table of contents ข้าวซอย เป็นเมนูอาหารเหนือที่มีความโดดเด่นและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยเป็นเมนูก๋วยเตี๋ยวที่มีน้ำแกงเข้มข้นทำจากกะทิ ผสมผสานกับเครื่องแกงเผ็ดที่หอมจากเครื่องเทศต่าง ๆ เช่น ขมิ้นและพริกแห้ง น้ำแกงจะมีรสชาติหวาน มัน และเผ็ดนิด ๆ […]
4 อาหารเหนือที่หากินยาก
4 อาหารเหนือที่หากินยาก วัตถุดิบสดใหม่ที่เติบโตในดินแดนแห่งนานับล้าน (ล้านนา) ถูกเก็บเกี่ยวมาปรุงเป็นอาหารเรียบง่าย แต่ดีต่อลิ้นและใจ ไข่ป่าม/ป่ามไข่/อ็อกไข่ จานโปรดชาวเหนือตลอดกาลจานนี้ทำง่ายมาก ถ้าคุณทำไข่เจียวเป็น ไข่ป่ามทำง่ายยิ่งกว่า (ในความคิดเรา) แค่ตอกไข่ไก่หรือเป็ด โรยต้นหอม พริกหยวกแดง เกลือ ตีให้เข้ากัน เสร็จแล้วเทลงกระทงใบตอง นำไปย่างบนเตาถ่านจนสุกเป็นสีเหลืองทอง คุณก็จะได้อาหารเช้าร้อน ๆ ปูอ่อง/ปู๋อ่อง คำว่า “อ่อง” ที่เจอในชื่อเมนูหลากหลายเป็นวิธีทำอาหารท้องถิ่นเหนืออย่างหนึ่ง เทียบได้กับการทำให้วัตถุดิบข้นขึ้นอย่างช้า ๆ (reduction) สำหรับเมนูปูอ่อง พ่อครัวแม่ครัวจะนำมันปูนามาปรุงรส เติมไข่ ตักใส่กระดองปู แล้วนำไปปิ้งบนเตาไฟเพื่อ “อ่อง” จนได้ที่ รอไม่นานก็ได้ปูอ่องข้นมัน ส้ามะเขือ ภาคกลางเรียกเมนูที่นำวัตถุดิบต่าง ๆ มาผสมรวมกันว่า “ยำ” ส่วนชาวเหนือจะเรียกว่า “ส้า” ส้ามะเขือเป็นเมนูที่ขึ้นชื่อ ผสานมะเขือขื่น (คนเหนือเรียกมะเขือแจ้) กับวัตถุดิบกระตุ้นต่อมน้ำลายอีกมากมาย เมนูนี้ยังเป็นการชูมะเขือที่มักเป็นแค่ผักเคียงให้เป็นดาวเด่นอีกด้วย วิธีทำก็ไม่ยาก ฝานมะเขือเป็นชิ้นบาง ๆ เตรียมไว้ จากนั้น ตั้งกระทะผัดเครื่องแกง พร้อมกระเทียม ใส่หมูสับลงไปผัดพร้อมกันเพื่อช่วยตัดรสเครื่องแกงอันจัดจ้าน […]
อาหารเหนือกับภูมิปัญญาล้านนา
อาหารเหนือกับภูมิปัญญาล้านนา ภูมิประเทศของภาคเหนืออุดมไปด้วยผืนป่าเขียวขจีและหุบเขากว้างไกล ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบธรรมชาติอย่างดีให้ชาวเหนือนำมาใช้ประกอบอาหาร บางอย่างก็กลายเป็นสิ่งคู่ครัวล้านนาที่ขาดไม่ได้ จุดเด่นอย่างหนึ่งของครัวล้านนา คือการนำทรัพยากรท้องถิ่นอันหลากหลายมารังสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นไม้สักเนื้อแข็ง ไม้ไผ่ที่โตเร็ว ไปจนถึงแร่ธาตุจากดินภูเขาอันอุดม ชาวเหนือนำธรรมชาติมารังสรรค์เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองมาอย่างยาวนาน ซึ่งสัมผัสได้ผ่านครัวในบ้าน ไปจนถึงจานอร่อยในร้านอาหาร เซรามิก ดินภาคเหนืออุดมไปด้วยแร่เคโอลิไนต์ (Kaolinite) ซึ่งเป็นแร่ดินเหนียวที่ทำให้ดินมีสีขาว และหนึ่งในผลิตภัณฑ์เซรามิกภาคเหนือที่ทุกคนต้องนึกถึงก็คือชามตราไก่ ผลิตภัณฑ์จากผลงานวาดมือที่ทำจากแหล่งดินขาวอย่างจังหวัดลำปาง ชามชนิดนี้แข็งแกร่ง ทนร้อน ผู้คนนิยมนำมาใส่อาหารกันเป็นนิจทั่วทุกภาคไทย รวมไปถึงข้าวซอยและขนมจีนน้ำเงี้ยว ส่วนรูปไก่บนชามนั้นได้แรงบันดาลใจมาจากชามลายไก่ที่นำเข้าจากประเทศจีนในอดีต ครก เชฟชาลี กาเดอร์ แห่งร้าน 100 Mahaseth (รางวัลบิบ กูร์มองด์) กล่าวว่า “ครกถือเป็นจุดกำเนิดของสูตรอาหารมากมาย ใช้ตำหรือบดเครื่องเทศ สมุนไพร ข้าว และวัตถุดิบอื่น ๆ เพื่อทำทั้งพริกแกง เครื่องเคียง น้ำพริก ไม่ว่าจะเป็นครกไม้ ครกดินเผา หรือครกหินต่างก็มีวิวัฒนาการเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอันยาวนานของเราไปแล้ว” ในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา ครกและสากกลายเป็นเครื่องครัวที่ชาวเหนือนิยมใช้ โดยทั่วไปแล้ว ครกหินใช้ตำเครื่องแกงฮังเล หรือน้ำพริกอ่อง ส่วนครกไม้และดินมักใช้ทำตำต่าง ๆ คล้ายกับที่ชาวอีสานใช้ทำส้มตำ ใบไม้ห่ออาหาร […]
7 เห็ดยอดนิยมในภาคเหนือ
7 เห็ดยอดนิยมในภาคเหนือ สภาพดินฟ้าอากาศในประเทศไทย นับว่าเหมาะกับการเจริญเติบโตของเห็ด ดังนั้นจึงมีเห็ดชุกชุมโดยเฉพาะในฤดูฝนตามภาคต่างๆ จะมีเห็ดขึ้นทั่วไป มีทั้งเห็ดชนิดที่รับประทานได้เเละที่รับประทานไม่ได้ สำหรับชาวล้านนารู้จักเลือกใช้เห็ดเป็นอาหารมานานเเล้วเช่นเดียวกัน ส่วนชนิดของเห็ดต่างๆ ที่รู้จักกันโดยทั่วไป ก็มีทั้งที่รับประทานได้เเละไม่ได้ โดยเห็ดที่ขึ้นในฤดูฝนมีดังนี้ 1. เห็ดเข้าหมิ้น ชาวล้านนามักเรียกเห็ดที่มีสีเหลืองขมิ้นว่า เห็ดเข้าหมิ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นชื่อเห็ด 3 ชนิด ในวงศ์ CANTHARELLA- ชนิด Craterellus aureus Berk. et Curt. บ้าง เรียกว่า เห็ดเข้าหมิ้นน้อย หมวกเห็ดสีเหลืองเข้มหรือเหลืองอมส้ม กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร บานออกเป็นรูปปากแตร ขอบบิดงอเป็นคลื่น กลางหมวกบุ๋มลึกลงไป ผิวเรียบ ด้านล่างสีเหลืองอ่อน ผิวเรียบหรือมีสันนูนเล็กน้อย ก้านยาว 2.0-2.5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร เนื้อเห็ดเหนียวและกรอบกรุบ เห็ดขมิ้นชนิดนี้มีเขตการขยายพันธุ์ – ชนิด Craterellus odoratus (Schw.) Fr. (ชื่อพ้อง […]
ข้าวแรมฟืน ทำมาจากอะไร
ข้าวแรมฟืน ทำมาจากอะไร หรือ “ข้าวแรมคืน” เป็นอาหารดั้งเดิมของชาวไทใหญ่ ไทลื้อ ที่มาจากทางสิบสองปันนา ซึ่งปัจจุบันนี้กลายมาเป็นอาหารท้องถิ่นขึ้นชื่อของ จ.เชียงราย และสามารถหาชิมได้ทั่วไปตามร้านต่างๆได้มาจากการโม่ข้าวเจ้าแข็งเพื่อทำแป้ง แล้วนำน้ำแป้งที่ตกตะกอนนั้นมาเคี่ยวกับน้ำปูนใสจนสุก จากนั้นก็เทใส่ภาชนะ ทิ้งไว้ข้ามคืน ก็จะได้ข้าวแรมฟืนที่แข็งตัว สามารถนำมากินได้ และเป็นที่มาของชื่อ “ข้าวแรมคืน” นั่นเอง อาหารไทลื้อมากประโยชน์ หลายคนอาจไม่คุ้นหรือไม่เคยรู้จักอาหารชื่อแปลกอย่างข้าวแรมฟืน เหตุผลหนึ่งก็เพราะเป็นอาหารเฉพาะท้องถิ่นชาวไทลื้อที่อาศัยอยู่ในบางจังหวัดของภาคเหนือเท่านั้น แต่เมื่อสำรวจดูจริงๆแล้วจะพบว่า ข้าวแรมฟืนเป็นอาหารที่นิยมบริโภคกันในบางส่วนของประเทศเวียตนาม ประเทศพม่า และประเทศจีนทางตอนใต้อีกด้วย ทำมาจากข้าวเจ้า ถั่วลันเตา หรือถั่วลิสง เตรียมโดยนำมาแช่น้ำจนอ่อนตัว จากนั้นนำมาบดจนละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำให้มีความเข้มข้นพอควร โดยสำหรับข้าวแรมฟืนข้าวต้องมีการผสมกับน้ำปูนใสหรือแคลเซียมคลอไรด์เพื่อช่วยในการแข็งตัว จากนั้นนำมาต้มจนสุกและมีความข้นหนืดพอเหมาะแล้วจึงตั้งทิ้งไว้ข้ามคืนหรือแรมคืน (ซึ่งอาจเป็นที่มาของคำว่าข้าวแรมฟืนนั่นเอง) ในระหว่างนี้แป้งจะเย็นตัวลงจนแข็งเป็นเจลขุ่นและมีสีตามธรรมชาติของวัตถุดิบ เวลารับประทานก็เพียงนำมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ราดน้ำปรุงรสขลุกขลิกรสชาติออกเปรี้ยวหวาน อาจเพิ่มพริกคั่วและถั่วบด สำหรับข้าวแรมฟืนถั่วลันเตายังนิยมนำมาทอดในน้ำมันได้เป็นข้าวแรมฟืนทอดที่กรอบนอกนุ่มในและมีรสชาติอร่อย จนบางคนเรียกว่า “เฟร้นช์ฟรายไทลื้อ” ข้าวแรมฟืนสีเหลืองทำจากถั่วลันเตา สำหรับข้าวแรมฟืนตามสูตรต้นตำรับนั้นมีวิธีการกินคือ นำแป้งที่ได้มาหั่นเป็นชิ้นพอคำ คลุกเคล้ากับเครื่องปรุง ได้แก่ น้ำถั่วเน่า น้ำขิง พริกขี้หนูคั่วป่นผัดน้ำมัน งาขาวคั่วป่น เกลือป่น น้ำตาล ซีอิ๊วดำ ถั่วลิสงคั่วป่น กระเทียมเจียว […]
วิธีทำข้าวกั้นจิ้น
ข้าวกั๊นจิ๊น ข้าวเงี้ยว หรือ จิ๊นส้มเงี้ยว เป็นอาหารไทยภาคเหนือ มีลักษณะเป็นข้าวสวยคลุกเลือดหมูสดห่อในใบตองในลักษณะเดียวกับแหนม บางสูตรไม่ใส่เนื้อสับ แต่ใส่เลือดคลุกเคล้ากับข้าวอย่างเดียวนำมารับประทานกับน้ำมันกระเทียม หอมแดง แตงกวา และพริกทอด อาหารประเภทนี้นิยมรับประทานเป็นอาหารกลางวัน หรือ ข้าวตอน ในสูตรดั้งเดิมมักใช้วัวทำ แต่ปัจจุบันผู้คนไม่ค่อยกินเนื้อวัวกันแล้ว จึงดัดแปลงมาใช้เนื้อหมูแทน ข้าวกั้นจิ้น ข้าวกั๊นจิ๊นเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวไทใหญ่ซึ่งนิยมรับประทานข้าวเจ้า (ข้าวสวย) ต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มอื่นที่มักรับประทานข้าวนึ่ง (ข้าวเหนียว) ในบางครั้งเรียกข้าวกั๊นจิ๊นว่า “ข้าวเงี้ยว” เพราะเป็นอาหารของชาวไทใหญ่ ในอดีตชาวล้านนามักจะเรียกชาวไทใหญ่ว่า “เงี้ยว” ซึ่งมีนัยของการดูถูกชาติพันธุ์ว่า เป็นชนชาติที่เจ้าเล่ห์ คบไม่ได้ ส่วนคำว่า กั๊น ในคำเมืองหมายถึง นวด บีบ หรือคั้น เพราะขั้นตอนการทำนั้นต้องนวดข้าวให้เข้ากับเลือดด้วย ส่วน จิ๊น ก็คือเนื้อสัตว์ วัตถุดิบ ลำดับ วัตถุดิบ จำนวน 1 ข้าวสาร 1 ลิตร 2 เนื้อหมูบด 200 กรัม 3 เลือดหมู 1 […]
วิธีทำข้าวซอย
สูตรอาหาร วิธีทำข้าวซอยไก่ เมนูอาหารยอดนิยมของทางภาคเหนือ เดิมเรียกว่าก๋วยเตี๋ยวฮ่อ เนื่องจากมาจากอาหารของชาวมุสลิม สูตรข้าวซอยสูตรนี้ทำง่าย อร่อยเหมือนต้นฉบับ ใครได้ทานรับรองต้องติดใจ ข้าวซอย ข้าวซอยมีต้นกำเนิดจากชาวจีนมุสลิม ที่อพยพมาจาก มณฑลยูนนาน ประเทศจีน มาอยู่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว แต่เดิมข้าวซอยไม่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ เรียกว่า “ข้าวซอยน้ำใส” ต่อมาได้มีการเพิ่มกะทิเข้าไปจนเป็นที่นิยมอย่างมากและกลายมาเป็นลักษณะข้าวซอยที่รู้จักกันในปัจจุบัน ข้าวซอยจึงเป็นผลลัพธ์ของการผสมผสานระหว่างอาหารจีน อาหารตะวันออกกลางและอาหารเอเชียอาคเนย์ ที่มาของชื่อข้าวซอย เส้นข้าวซอยทำจากแป้งข้าวสาลีผสมน้ำและไข่ แล้วนวดจนได้เนื้อเนียน รีดเป็นแผ่น แล้วซอยเป็นเส้นแบนๆ บางๆ จึงถูกเรียกว่า ‘ข้าวซอย’ วัตถุดิบ ลำดับ วัตถุดิบ จำนวน 1 น่องไก่ 1 กิโลกรัม 2 เส้นข้าวซอย 1/2 กิโลกรัม 3 น้ำมันพืช 1 ถ้วย 4 กะทิ 3 ถ้วย เครื่องแกง […]
วิธีทำแคปหมู
เอาใจคนชอบทานหมู โดยเฉพาะเมนู แคบหมู ที่ได้ทานทีไร หยิบทานจนลืมตัวตลอด หันมาอีกทีหมดเกลี้ยงซะละ จะไปซื้อทานอีก ก็ไม่สะใจ อร่อยขนาดนี้ ลองทำทานเองที่บ้านกันดูไหม แคปหมู หนังหมูหรือหนังหมูติดมันทอดให้พองและกรอบ เป็นอาหารที่ปรากฏในทุกภูมิภาคของโลก ในภาษาอังกฤษเรียก pork snack, pork rind, pork scratching หรือ pork crackling ในประเทศไทยพบในภาคเหนือ แล้วได้แพร่หลายไปทั่วประเทศและเรียกขานกันตามภาษาเหนือว่า แคบหมู เป็นที่รู้จักกันทั่วไป รวมทั้งถ้าใช้หนังสัตว์อื่น จะเปลี่ยนไปเรียกชื่อตามสัตว์นั้น ๆ เช่น แคบควาย ทำจากหนังกระบือ แต่ถ้าทำจากหนังโค จะเรียก หนังพอง มักใช้รับประทานเป็นเครื่องเคียงอาหารอื่น ๆ เช่น น้ำพริก ก๋วยเตี๋ยว น้ำเงี้ยว ฯลฯ หรือเป็นส่วนผสมประกอบอาหารอื่น ๆ เช่น พวกน้ำพริกหรือแกง แคบหมู ไร้มัน แคบหมูไร้มัน นิยมกันมากทางภาคเหนือ ทานคู่กับน้ำพริก ข้าวเหนียว […]
วิธีทำข้าวแต๋น
เมนูขนมกรุบๆ กินเล่นได้เพลิน อร่อยแฮปปี้ได้ทุกวัย บอกเลยว่าทำเองได้ไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ จะทำขายเป็นอาชีพก็ได้ หรือจะทำกินเองชิลๆ ที่บ้านก็ดี แถมทำเองเราจะใส่ราดหน้าน้ำตาลเยอะแค่ไหนก็ได้ ข้าวแต๋น ข้าวแต๋น เป็นขนมที่นิยมทำกันในเทศกาลปีใหม่เมือง หรือสงกรานต์ งานปอยลูกแก้ว และงานปอยหลวง ปัจจุบัน นิยมผสมน้ำแตงโมลงในข้าวเหนียวที่นึ่งแล้ว ก่อนนำมากดลงพิมพ์ เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและความหวานอร่อย วัตถุดิบ ลำดับ วัตถุดิบ จำนวน 1 ข้าวสารเหนียว ½ ลิตร 2 น้ำแตงโม 1 ถ้วย 3 งางาดำ 2 ช้อนโต๊ะ 4 งางาขาว 2 ช้อนโต๊ะ 5 เกลือป่น 1 ช้อนชา 6 น้ำมันพืช 2 กิโลกรัม วิธีทำ 1. คั้นเนื้อแตงโม และกรองเอาแต่น้ำ ผสมงาดำใส่ลงในน้ำแตงโม คนให้เข้ากัน 2. แช่ข้าวสารประมาณ 1 […]
วิธีทำเมี่ยงคำ
เมี่ยงคำอาหารว่างเป็นของไทยโดยมีวัตถุดิบและเครื่องเคียงส่วนใหญ่เป็นของที่มีคุณประโยชน์ราดด้วยน้ำเมี่ยงคำรสหวานหอมกลมกล่อมเรียกได้ว่าทั้งอร่อยและมีประโยชน์ด้วย เมี่ยงคำ อาหารที่เน้นผักจะช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายลง เพราะไม่ต้องใช้พลังในการย่อยเยอะมาก กล่าวกันว่าร่างกายคนเราประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อธาตุสมดุล ร่างกายก็จะแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย เมี่ยงคำจึงถือเป็นอาหารว่างที่ช่วยรับมืออากาศร้อนได้เป็นอย่างดี เครื่องเมี่ยงคำประกอบด้วยสมุนไพรและวัตถุดิบนานาชนิดจะช่วยบำรุงรักษาธาตุทั้ง 4 ส่วนผสมหลักของเมี่ยงคำประกอบด้วยใบชะพลู หอมแดง ขิง มะนาวหั่นพร้อมเปลือก พริกขี้หนูสด ถั่วลิสงคั่ว มะพร้าวคั่ว และกุ้งแห้ง ห่อรวมกันแล้วหอมกลิ่นสมุนไพร ทานคู่กับน้ำจิ้มรสออกหวาน ทำจากกะปิ น้ำตาลปี๊บ ถั่ว มะพร้าวคั่ว ผสานกับข่าและหอมแดงสับ ในอดีต ผู้คนนิยมใช้ใบทองหลาง แต่เนื่องจากปัจจุบันหายาก จึงเปลี่ยนมาใช้ใบชะพลูแทน แต่ก็มีเมี่ยงคำสูตรพิเศษที่ห่อด้วยกลีบบัว ออกมาเป็นเมี่ยงกลีบบัวที่ดูงดงามไปอีกแบบ วัตถุดิบ ลำดับ วัตถุดิบ จำนวน 1 น้ำตาลมะพร้าว 100 กรัม 2 น้ำเปล่า 1/2 – 1 ถ้วย 3 กะปิ 1 […]