เมนูอาหารเหนือ ที่ลองแล้วต้องติดใจ

อาหารเหนือ

ร้านอาหารเหนือ เป็นร้านอาหารที่นำเสนอเมนูและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือของประเทศไทย โดยเน้นวัตถุดิบและวิธีการปรุงที่สะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่น ตัวอย่างอาหารเหนือที่นิยม เช่น ข้าวซอย (ก๋วยเตี๋ยวน้ำแกงใส่กะทิ), แกงฮังเล (แกงหมูรสชาติเข้มข้นใส่ขิงและเครื่องเทศ), น้ำพริกหนุ่ม(น้ำพริกจากพริกเขียวเผา), และ ไส้อั่ว (ไส้กรอกหมูย่างใส่เครื่องเทศเหนือ)            จุดเด่นของอาหารเหนือคือรสชาติที่ไม่เผ็ดจัด แต่จะมีความหอมของสมุนไพรและเครื่องเทศ เช่น กระเทียม, ข่า, ตะไคร้ และมักเน้นการใช้วัตถุดิบท้องถิ่น เช่น ผักพื้นบ้านและเนื้อสัตว์ที่หาได้ในพื้นที่ ร้านอาหารเหนือมักจะตกแต่งด้วยบรรยากาศแบบพื้นเมืองล้านนา เช่น การใช้ไม้ไผ่ ผ้าพื้นเมือง และลวดลายแบบล้านนา เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศในการรับประทานอาหาร สารบัญ Add a header to begin generating the table of contents ข้าวซอย เป็นเมนูอาหารเหนือที่มีความโดดเด่นและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยเป็นเมนูก๋วยเตี๋ยวที่มีน้ำแกงเข้มข้นทำจากกะทิ ผสมผสานกับเครื่องแกงเผ็ดที่หอมจากเครื่องเทศต่าง ๆ เช่น ขมิ้นและพริกแห้ง น้ำแกงจะมีรสชาติหวาน มัน และเผ็ดนิด ๆ […]

4 อาหารเหนือที่หากินยาก

อาหารเหนือ

4 อาหารเหนือที่หากินยาก วัตถุดิบสดใหม่ที่เติบโตในดินแดนแห่งนานับล้าน (ล้านนา) ถูกเก็บเกี่ยวมาปรุงเป็นอาหารเรียบง่าย แต่ดีต่อลิ้นและใจ ไข่ป่าม/ป่ามไข่/อ็อกไข่ จานโปรดชาวเหนือตลอดกาลจานนี้ทำง่ายมาก ถ้าคุณทำไข่เจียวเป็น ไข่ป่ามทำง่ายยิ่งกว่า (ในความคิดเรา) แค่ตอกไข่ไก่หรือเป็ด โรยต้นหอม พริกหยวกแดง เกลือ ตีให้เข้ากัน เสร็จแล้วเทลงกระทงใบตอง นำไปย่างบนเตาถ่านจนสุกเป็นสีเหลืองทอง คุณก็จะได้อาหารเช้าร้อน ๆ ปูอ่อง/ปู๋อ่อง คำว่า “อ่อง” ที่เจอในชื่อเมนูหลากหลายเป็นวิธีทำอาหารท้องถิ่นเหนืออย่างหนึ่ง เทียบได้กับการทำให้วัตถุดิบข้นขึ้นอย่างช้า ๆ (reduction) สำหรับเมนูปูอ่อง พ่อครัวแม่ครัวจะนำมันปูนามาปรุงรส เติมไข่ ตักใส่กระดองปู แล้วนำไปปิ้งบนเตาไฟเพื่อ “อ่อง” จนได้ที่ รอไม่นานก็ได้ปูอ่องข้นมัน ส้ามะเขือ ภาคกลางเรียกเมนูที่นำวัตถุดิบต่าง ๆ มาผสมรวมกันว่า “ยำ” ส่วนชาวเหนือจะเรียกว่า “ส้า” ส้ามะเขือเป็นเมนูที่ขึ้นชื่อ ผสานมะเขือขื่น (คนเหนือเรียกมะเขือแจ้) กับวัตถุดิบกระตุ้นต่อมน้ำลายอีกมากมาย เมนูนี้ยังเป็นการชูมะเขือที่มักเป็นแค่ผักเคียงให้เป็นดาวเด่นอีกด้วย วิธีทำก็ไม่ยาก ฝานมะเขือเป็นชิ้นบาง ๆ เตรียมไว้ จากนั้น ตั้งกระทะผัดเครื่องแกง พร้อมกระเทียม ใส่หมูสับลงไปผัดพร้อมกันเพื่อช่วยตัดรสเครื่องแกงอันจัดจ้าน […]

อาหารเหนือกับภูมิปัญญาล้านนา

อาหารเหนือ

อาหารเหนือกับภูมิปัญญาล้านนา ภูมิประเทศของภาคเหนืออุดมไปด้วยผืนป่าเขียวขจีและหุบเขากว้างไกล ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบธรรมชาติอย่างดีให้ชาวเหนือนำมาใช้ประกอบอาหาร บางอย่างก็กลายเป็นสิ่งคู่ครัวล้านนาที่ขาดไม่ได้ จุดเด่นอย่างหนึ่งของครัวล้านนา คือการนำทรัพยากรท้องถิ่นอันหลากหลายมารังสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นไม้สักเนื้อแข็ง ไม้ไผ่ที่โตเร็ว ไปจนถึงแร่ธาตุจากดินภูเขาอันอุดม ชาวเหนือนำธรรมชาติมารังสรรค์เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองมาอย่างยาวนาน ซึ่งสัมผัสได้ผ่านครัวในบ้าน ไปจนถึงจานอร่อยในร้านอาหาร เซรามิก ดินภาคเหนืออุดมไปด้วยแร่เคโอลิไนต์ (Kaolinite) ซึ่งเป็นแร่ดินเหนียวที่ทำให้ดินมีสีขาว และหนึ่งในผลิตภัณฑ์เซรามิกภาคเหนือที่ทุกคนต้องนึกถึงก็คือชามตราไก่ ผลิตภัณฑ์จากผลงานวาดมือที่ทำจากแหล่งดินขาวอย่างจังหวัดลำปาง ชามชนิดนี้แข็งแกร่ง ทนร้อน ผู้คนนิยมนำมาใส่อาหารกันเป็นนิจทั่วทุกภาคไทย รวมไปถึงข้าวซอยและขนมจีนน้ำเงี้ยว ส่วนรูปไก่บนชามนั้นได้แรงบันดาลใจมาจากชามลายไก่ที่นำเข้าจากประเทศจีนในอดีต ครก เชฟชาลี กาเดอร์ แห่งร้าน 100 Mahaseth (รางวัลบิบ กูร์มองด์) กล่าวว่า “ครกถือเป็นจุดกำเนิดของสูตรอาหารมากมาย ใช้ตำหรือบดเครื่องเทศ สมุนไพร ข้าว และวัตถุดิบอื่น ๆ เพื่อทำทั้งพริกแกง เครื่องเคียง น้ำพริก ไม่ว่าจะเป็นครกไม้ ครกดินเผา หรือครกหินต่างก็มีวิวัฒนาการเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอันยาวนานของเราไปแล้ว” ในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา ครกและสากกลายเป็นเครื่องครัวที่ชาวเหนือนิยมใช้ โดยทั่วไปแล้ว ครกหินใช้ตำเครื่องแกงฮังเล หรือน้ำพริกอ่อง ส่วนครกไม้และดินมักใช้ทำตำต่าง ๆ คล้ายกับที่ชาวอีสานใช้ทำส้มตำ ใบไม้ห่ออาหาร […]

ข้าวแรมฟืน ทำมาจากอะไร

ข้าวแรมฟืน

ข้าวแรมฟืน ทำมาจากอะไร หรือ “ข้าวแรมคืน” เป็นอาหารดั้งเดิมของชาวไทใหญ่ ไทลื้อ ที่มาจากทางสิบสองปันนา ซึ่งปัจจุบันนี้กลายมาเป็นอาหารท้องถิ่นขึ้นชื่อของ จ.เชียงราย และสามารถหาชิมได้ทั่วไปตามร้านต่างๆได้มาจากการโม่ข้าวเจ้าแข็งเพื่อทำแป้ง แล้วนำน้ำแป้งที่ตกตะกอนนั้นมาเคี่ยวกับน้ำปูนใสจนสุก จากนั้นก็เทใส่ภาชนะ ทิ้งไว้ข้ามคืน ก็จะได้ข้าวแรมฟืนที่แข็งตัว สามารถนำมากินได้ และเป็นที่มาของชื่อ “ข้าวแรมคืน” นั่นเอง อาหารไทลื้อมากประโยชน์ หลายคนอาจไม่คุ้นหรือไม่เคยรู้จักอาหารชื่อแปลกอย่างข้าวแรมฟืน เหตุผลหนึ่งก็เพราะเป็นอาหารเฉพาะท้องถิ่นชาวไทลื้อที่อาศัยอยู่ในบางจังหวัดของภาคเหนือเท่านั้น แต่เมื่อสำรวจดูจริงๆแล้วจะพบว่า ข้าวแรมฟืนเป็นอาหารที่นิยมบริโภคกันในบางส่วนของประเทศเวียตนาม ประเทศพม่า และประเทศจีนทางตอนใต้อีกด้วย ทำมาจากข้าวเจ้า ถั่วลันเตา หรือถั่วลิสง เตรียมโดยนำมาแช่น้ำจนอ่อนตัว จากนั้นนำมาบดจนละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำให้มีความเข้มข้นพอควร โดยสำหรับข้าวแรมฟืนข้าวต้องมีการผสมกับน้ำปูนใสหรือแคลเซียมคลอไรด์เพื่อช่วยในการแข็งตัว จากนั้นนำมาต้มจนสุกและมีความข้นหนืดพอเหมาะแล้วจึงตั้งทิ้งไว้ข้ามคืนหรือแรมคืน (ซึ่งอาจเป็นที่มาของคำว่าข้าวแรมฟืนนั่นเอง) ในระหว่างนี้แป้งจะเย็นตัวลงจนแข็งเป็นเจลขุ่นและมีสีตามธรรมชาติของวัตถุดิบ เวลารับประทานก็เพียงนำมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ราดน้ำปรุงรสขลุกขลิกรสชาติออกเปรี้ยวหวาน อาจเพิ่มพริกคั่วและถั่วบด สำหรับข้าวแรมฟืนถั่วลันเตายังนิยมนำมาทอดในน้ำมันได้เป็นข้าวแรมฟืนทอดที่กรอบนอกนุ่มในและมีรสชาติอร่อย จนบางคนเรียกว่า “เฟร้นช์ฟรายไทลื้อ” ข้าวแรมฟืนสีเหลืองทำจากถั่วลันเตา สำหรับข้าวแรมฟืนตามสูตรต้นตำรับนั้นมีวิธีการกินคือ นำแป้งที่ได้มาหั่นเป็นชิ้นพอคำ คลุกเคล้ากับเครื่องปรุง ได้แก่ น้ำถั่วเน่า น้ำขิง พริกขี้หนูคั่วป่นผัดน้ำมัน งาขาวคั่วป่น เกลือป่น น้ำตาล ซีอิ๊วดำ ถั่วลิสงคั่วป่น กระเทียมเจียว […]

วิธีทำข้าวกั้นจิ้น

ข้าวกั้นจิ้น

ข้าวกั๊นจิ๊น ข้าวเงี้ยว หรือ จิ๊นส้มเงี้ยว เป็นอาหารไทยภาคเหนือ มีลักษณะเป็นข้าวสวยคลุกเลือดหมูสดห่อในใบตองในลักษณะเดียวกับแหนม บางสูตรไม่ใส่เนื้อสับ แต่ใส่เลือดคลุกเคล้ากับข้าวอย่างเดียวนำมารับประทานกับน้ำมันกระเทียม หอมแดง แตงกวา และพริกทอด อาหารประเภทนี้นิยมรับประทานเป็นอาหารกลางวัน หรือ ข้าวตอน ในสูตรดั้งเดิมมักใช้วัวทำ แต่ปัจจุบันผู้คนไม่ค่อยกินเนื้อวัวกันแล้ว จึงดัดแปลงมาใช้เนื้อหมูแทน ข้าวกั้นจิ้น ข้าวกั๊นจิ๊นเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวไทใหญ่ซึ่งนิยมรับประทานข้าวเจ้า (ข้าวสวย) ต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มอื่นที่มักรับประทานข้าวนึ่ง (ข้าวเหนียว) ในบางครั้งเรียกข้าวกั๊นจิ๊นว่า “ข้าวเงี้ยว” เพราะเป็นอาหารของชาวไทใหญ่ ในอดีตชาวล้านนามักจะเรียกชาวไทใหญ่ว่า “เงี้ยว” ซึ่งมีนัยของการดูถูกชาติพันธุ์ว่า เป็นชนชาติที่เจ้าเล่ห์ คบไม่ได้ ส่วนคำว่า กั๊น ในคำเมืองหมายถึง นวด บีบ หรือคั้น เพราะขั้นตอนการทำนั้นต้องนวดข้าวให้เข้ากับเลือดด้วย ส่วน จิ๊น ก็คือเนื้อสัตว์ วัตถุดิบ ลำดับ วัตถุดิบ จำนวน 1 ข้าวสาร 1 ลิตร 2 เนื้อหมูบด 200 กรัม 3 เลือดหมู 1 […]

วิธีทำแกงกระด้าง

แกงกระด้าง

วิธีทำแกงกระด้าง สำเนียงที่ถูกต้องคือ ‘แก๋งกะด้าง’ เพราะภาษาไทยถิ่นเหนือไม่มีเสียงควบกล้ำ ร.เรือ และ ล.ลิง มีชื่อเล่นอยู่บ้างประปรายตามท้องถิ่น เช่น แกงด้าง หมูกระด้าง หรือหมูหนาว นิยมทำกันอย่างแพร่หลายในเขตภาคเหนือ เมนูแกงกระด้าง นับเป็นเมนูแห่งฤดูกาลอีกจานหนึ่งที่จะขาดไปจากขันโตกไม่ได้เมื่อลมหนาวเดินทางมาถึง คนเหนือเรียนรู้จากความหนาวเย็น สร้างเป็นเมนูอาหารที่มีเจลาตินธรรมชาติจากสัตว์เป็นวัตถุดิบชูโรง เหตุที่เรียกแกงกระด้างว่าเป็นเมนูแห่งฤดูกาลก็เพราะเดิมทีแกงกระด้างมีลมหนาวเป็นวัตถุดิบหลักในการปรุง น้ำแกงข้นคลั่กที่เกิดจากการเคี่ยวหนังหมูจะถูกทิ้งไว้ข้ามคืนในอากาศเย็น ๆ เพื่อให้ฟอร์มตัวเป็นเยลลีหนุบหนับ พร้อมตัดเสิร์ฟในตอนเช้า และนี่อาจเป็นที่มาว่าเหตุใดแกงที่ไม่มีน้ำแกงนี้จึงเป็นที่นิยมเฉพาะในภาคเหนือซึ่งมีอากาศหนาวเย็นตั้งแต่ช่วงสิ้นปีไปจนถึงเดือนสองเดือนสาม วัตถุดิบ ลำดับ วัตถุดิบ จำนวน 1 ขาหมู 300 กรัม 2 กระเทียม 20 กลีบ 3 พริกไทย 1/2 ช้อนโต๊ะ 4 รากผักชี 3 ราก 5 ผักชี 1 ช้อนโต๊ะ 6 ต้นหอม 1 ช้อนโต๊ะ 7 เกลือ 1/2 ช้อนชา […]

วิธีทำแกงฮังเล

แกงฮังเล

วิธีทำแกงฮังเล เมนูอาหารพื้นบ้านล้านนาของทางภาคเหนือ แกงฮังเลมีต้นกำเนิดจากประเทศพม่า โดยคำว่า ฮี่น แปลว่าแกงในภาษาพม่า และคำว่า เล่ แปลว่าเนื้อสัตว์ในภาษาพม่า แกงฮังเลมีรสชาติเค็มอมเปรี้ยว เป็นที่ชื่นชอบของคนไทยภาคเหนือ ดูสูตรอาหารแกงฮังเลเลย รู้จักแกงฮังเล แกงฮังเล หรือ แกงฮินเล เป็นอาหารไทยประเภทแกง รสชาติเค็ม-เปรี้ยว โดยคำว่า ฮี่น ภาษาพม่าแปลว่า แกง และ เล่ ภาษาพม่าแปลว่า เนื้อสัตว์ แกงฮังเลได้รับความนิยมจากชาวไทยภาคเหนือ และแคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีนนั่นเอง แกงฮังเลนั้น จริง ๆ แล้ว มี 2 แบบ คือ แบบพม่า และแบบเชียงแสน แกงฮังเลแบบพม่า มีรสชาติออกเปรี้ยว เค็ม น้ำขลุกขลิก ใส่ขิง น้ำมะขามเปียก กระเทียมดอง ถั่วลิสง น้ำตาลอ้อย และ สูตรนี้ เป็นที่นิยมมากกว่า แกงฮังเลแบบเชียงแสน แกงฮังเลเชียงแสน จะเพิ่มถั่วฝักยาว พริก […]

ทำไมร้านอาหารเหนือถึงหายาก

ทำไมร้านอาหารเหนือถึงหายาก

ทำไมร้านอาหารเหนือถึงหายาก อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น? ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้แชร์ความคิดเห็นเชิงตั้งคำถามจากประสบการณ์ส่วนตัว ประมาณว่าเขารู้สึกว่า อาหารเหนือ ได้รับความนิยมน้อยกว่าอาหารภาคอื่นๆ โดยเขายังได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ตนเองก็รู้สึกว่ารสชาติ อาหารเหนือ ถูกปากน้อยกว่าอาหารภาคอื่น

อาหารเหนือแปลกๆ

อาหารเหนือแปลกๆ

หลายคนมาเที่ยวมาภาคเหนือทั้งทีแต่อาหารเมือง แบบเมืองแต๊ๆ เมืองจนอาจทำเราตกใจ อาหารเหนือแปลกๆ ใครว่าไม่อร่อย บอกได้เลยว่า สำหรับเมนูอาหารต่าง ๆ เหล่านี้ที่เรานั้นจะมาแนะนำ จัดได้เลยว่าเป็น อาหารพื้นเมืองภาคเหนือ ที่ไม่ควรพลาด โดยเฉพาะสายกิน ที่ชื่นชอบในการกินอาหาร และอยากลองกินอาหารใหม่ ๆ ที่ไม่เคยได้กินมาก่อน ลาบดิบ เลือดหมูคั้นตะไคร้ ใส่ปลาร้า ใส่พริกลาบ น้ำกระเทียมน้ำดองผสมกัน เพิ่มตับ กระเพราะ หัวใจ ไส้หมู เนื้อสันในหมูสับละเอียด ไตและมันหมูสับใบมะกรูดทอด หอมซอยทอด กระเทียมเจียว ตะไคร้ทอยทอด หากใส่น้ำเพี๊ยะ จะเรียก ลู่เพี๊ยะ ลาบดิบทานกับผักสด ข้าวเหนียว เป็นอาหารที่ทานได้ตลอด และมักมีในงานเฉลิมฉลอง หลู้ หลู้ เป็นอาหารประเภทดิบสดประเภทเดียวกับลาบ และส้าจิ๊น ซึ่งใช้เครื่องปรุงเดียวกัน การทำหลู้นิยมใช้เลือดสดๆ ของหมู วัว หรือควาย ชาวล้านนานิยมใช้เลือดหมูในการทำมากกว่าเลือดวัวและควาย บางสูตรใช้น้ำเพลี้ย (กากอาหารที่ค้างในลำไส้ของวัวควาย) โดยนำเพี้ยสดๆ หรือต้มก่อนก็ได้ แทนน้ำเลือด เรียกว่า หลู้เพี้ย […]

อาหารเหนือ เมนูเส้น

อาหารเหนือ เมนูเส้น

ในประเทศไทยเรามีความโดดเด่นเรื่องอาหาร แต่ละภาคก็จะมีอาหารขึ้นชื่ออร่อย ๆหลายเมนู อย่างเช่น ภาคเหนือจะมีเมนูเส้นที่เราต้องไปชิมด้วยค่ะ ในบทความนี้ขอพาทุกคนไปชิม เมนูเส้น อย่างขนมจีนน้ำเงี้ยว กับข้าวซอยกัน หน้าตา และรสชาติแต่ละเมนูจะเป็นอย่างไร น่ากินขนาดไหน ขนมจีนน้ำเงี้ยว น้ำเงี้ยว หรือ น้ำงิ้ว เป็นอาหารเหนือที่เมื่อก่อนทำกินกันในเทศกาล งานบุญต่างๆ  ที่เรียกว่าน้ำเงี้ยวเป็นเพราะน้ำปรุงที่นำมาราดบนขนมจีนจะใส่ดอกงิ้วลงไปด้วยเพื่อให้น้ำแกงมีรสชาติที่อร่อยขึ้นค่ะ ส่วนน้ำพริก : น้ำเงี้ยวจะมี พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง ข่า ถั่วเน่าแผ่น หรือเต้าเจี้ยว  กะปิ เกลือ  น้ำมันพืช ส่วนของน้ำเงี้ยวที่ใช้ราดบนเส้นก็จะมีกระดูกหมู หมูสับ มะเขือเทศ ดอกเงี้ยว และเลือดก้อน แต่ถ้าใครไม่กินก็ไม่ต้องใส่ก็ได้ น้ำเงี้ยวของแต่ละจังหวัดรสชาติจะต่างกันนิดหน่อยค่ะ เพราะบางสูตรจะใส่น้ำเลือดลงไปตอนที่ผัดน้ำพริกทำให้น้ำซุปเข้มข้น ส่วนบางสูตรจะเป็นน้ำใสๆค่ะ แต่ถ้าพูดถึงความอร่อยสูตรไหนก็ไม่แพ้กัน ส่วนรสชาติ  จะกลมกล่อม มีทั้งรสเปรี้ยวของมะเขือเทศ และรสหวานของดอกงิ้วค่ะ เวลากินจะใส่ถั่วงอก และผักกาดดองด้วย ส่วนใครชอบ เผ็ด ชอบเปรี้ยวก็เติมพริกป่น และบีบน้ำมะนาวเพิ่มได้จ้า น้ำเงี้ยวสมัยนี้หากินง่ายค่ะ หรือจะสั่งนำพริกน้ำเงี้ยวมาทำกินเองที่บ้านก็ได้นะคะ ทำหม้อนึงกินได้ทั้งบ้านเลย ข้าวซอย […]