ผ้าซิ่น คืออะไร
ผ้าซิ่น คืออะไร ซิ่น (คำเมือง: LN sinh.png คำเมือง: สิ้น; ลาว: ສິ້ນ) เป็นผ้านุ่งของผู้หญิง มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทั้งขนาด การนุ่ง และลวดลายบนผืนผ้า โดยมีการสวมใส่ในประเทศลาวและประเทศไทย โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคอีสานของไทย ซิ่น “ซิ่น” ของสตรีชาวยวนหรือล้านนา อันเป็นอัตลักษณ์ในแทบภาคเหนือของประเทศไทย ซิ่นในแต่ละท้องถิ่นนั้นมีความแตกต่างกัน บางจังหวัดจะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นลวดลาย ลักษณะผ้า การย้อมสีฝ้าย ฯลฯ และในจังหวัดเชียงใหม่เองก็มีซิ่นหลากหลายรูปแบบ อันแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของช่างทอผ้าชาวล้านนาแต่โบราณ หลักฐานเรื่องการแต่งกายและนุ่งซิ่นของชาวล้านนานั้นมีบันทึกค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่ที่จะพอศึกษาได้จะเป็นศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ เช่นประติมากรรมรูปปูนปั้นเทวดารอบเจติยวิหาร วัดเจดีย์เจ็ดยอด ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายชนชั้นสูงในสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งราชวงศ์มังราย หลักฐานที่เห็นปรากฏการแต่งกายของชาวล้านนาชัดเจนมากในยุคหลัง ๆ ไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมาคือภาพจิตรกรรมฝาหนัง นอกจากจะเห็นการแต่งกายแล้วยังเห็นสภาพวิถีชีวิตของชาวล้านนาอีกด้วย สำหรับการแต่งกายท่อนบน สตรีเชียงใหม่ตามจารีตจะไม่สวมเสื้อ แต่มีผ้าสำหรับห่มหนึ่งผืน มักเป็นผ้าฝ้าย ฝ้าไหม หรือผ้าแพรจีน จะนำมาห่มเฉวียงบ่าข้างใดข้างหนึ่งแล้วปล่อยชายผ้าให้ตกไปด้านหลัง เรียก “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” หากนำผ้าห่มมาพันรอบหน้าอกจะเรียกว่า “มัดนม” ส่วนทรงผมจะไว้ผมยาว บำรุงผมด้วยน้ำมันมะพร้าว รวบแล้วเกล้ามวย […]
ประเพณีของภาคเหนือ
เดิมวัฒนธรรมล้านนา มีศูนย์กลางที่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่ ตามชื่อของอาณาจักรที่แบ่งการปกครองแบบนครรัฐ ซึ่งตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 โดยพญาเม็งราย วัฒนธรรมภาคเหนือ ภาคเหนือมีลักษณะเป็นเทือกเขา สลับกับที่ ราบ ผู้คนจะกระจายตัวอยู่เป็นกลุ่ม มีวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง แต่ก็มีการ ติดต่อระหว่างกัน วัฒนธรรมของภาคเหนือหรือ อาจเรียกว่า “กลุ่มวัฒนธรรมล้านนา” ซึ่งเป็น วัฒนธรรมเก่าแก่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้ง สำเนียงการพูด การขับร้อง ฟ้อนรำ หรือการจัด งานฉลองสถานที่สำคัญที่มีแต่โบราณ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ วัดเจดีย์หลวง เป็นต้น วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ ความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผี ชาวเหนือหรือที่เรียกกันว่า “ชาวล้านนา” มีความเชื่อในเรื่องการนับถือผีตั้งแต่เดิม โดย เชื่อว่าสถานที่แทบทุกแห่ง มีผีให้ความคุ้มครองรักษาอยู่ ความเชื่อนี้จึงมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เห็นได้ จากขนบธรรมเนียม ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ ของชาว เหนือ เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวเหนือ (พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย) เมื่อไปวัดฟัง ธรรมก็จะประกอบพิธีเลี้ยงผี คือ จัดหาอาหารคาว-หวานเซ่น สังเวยผีปู่ย่าด้วย ผีที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวล้านนา […]
การ แสดง พื้นเมือง ภาค เหนือ
การเเสดงพื้นเมือง การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ ศิลปะการแสดงทางภาคเหนือ เป็นลักษณะศิลปะที่มีการผสมผสานกันระหว่างชนพื้นเมืองชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทยลานนา ไทยใหญ่ เงี้ยว รวมถึงพวกพม่าที่เคยเข้ามาปกครองล้านนาไทย ทำให้นาฏศิลป์หรือการแสดงที่เกิดขึ้นในภาคเหนือมีความหลากหลาย แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฮพาะที่แสดงถึงความนุ่มนวลของท่วงท่า และทำนองเพลงประกอบกับความไพเราะของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด สี ตี เป่า ที่มีความเด่นชัด ไม่ว่าจะเป็น เป้ยะ สล้อ ซอ ซึง และกลอง ที่ปรากฏอยู่ในการฟ้อนประเภทต่างๆ รวมทั้งการแสดงที่มีความเข้มแข็ง หนักแน่นในแบบฉบับของการตีกลองสะบัดชัย และการตบมะผาบ การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือนอกจะมีลักษณะเป็นแบบพื้นเมืองเดิม ไทยลานนา ไทยใหญ่ เงี้ยวรวมถึงพม่า ผสมกันอยู่แล้ว ยังมีลักษณะการแสดงของภาคกลางรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชายา พระนามว่าเจ้าดารารัศมี พระราชธิดาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และเจ้าแม่ทิพเกสร เจ้าเมืองเชียงใหม่ ทำให้อิทธิพลการแสดงของภาคเหนือในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมีมีลักษณะของภาคกลางปะปนอยู่บ้าง ทำให้สามารถแบ่งลักษณะการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือได้เป็น 3 ลักษณะลักษณะการฟ้อนแบบพื้น 1. เมืองเดิม เป็นการแสดงที่มีอยู่ตามท้องถิ่นทั่วไป เช่น ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เป็นต้น 2. ลักษณะการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลจากชาติอื่น อาทิ พม่า […]
ภาษาเหนือ พูดกันอย่างไร
คำเมืองมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกันและไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับอักษรธรรมล้านนาซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแบบ ภาษาเหนือ เป็นภาษาถิ่นของจังหวัดในภาคเหนืองของไทย ซึ่งภาษาถิ่นนั้นถือว่าเป็นภาษาที่สวยงาม บ่งบอกถึงวัฒนธรรม เอกลักษณ์ ลักษณะความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาค ของแต่ละที่ได้เป็นอย่างดี โดยภาษาถิ่นเป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย ความเข้าใจกันระหว่างผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศใช้กัน คำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย, พะเยา, ลำปาง, อุตรดิตถ์, แพร่ และน่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย) ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐชาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ จำนวนนับแบบฉบับกำเมือง 1 = นึ่ง 2 = สอง 3 = สาม 4 = สี่ 5 = ห้า […]
ขันโตก คืออะไร
ขันโตก เป็นทั้งชื่อของภาชนะที่ใช้จัดวางอาหารที่มาพร้อมกับอาหารชนิดต่าง ๆ เนื่องจากแบบแผนหรือวิถีการรับประทานอาหารของไทยแต่เดิมนั้นเป็นการนั่งบนพื้น จึงต้องใช้ถาดที่มีฐานรองสูงจากพื้นเพื่อสะดวกในการรับประทาน รูปแบบของภาชนะนี้สามารถพบได้ในภาคเหนือเช่นเดียวกับภาคอีสาน ขันโตก คืออะไร คนต่างถิ่นยอมโยนทิ้งคำถามข้างบนเพื่อคว้านหาคำตอบอย่างแน่นอนเพื่อคลายข้อสงสัย ขันโตก คือ เป็นภาชนะที่มีลักษณะเป็นถาดมีขาตั้งสูง ใช้วางอาหาร ใช้กันในหมู่คนที่นิยมรับประทาน ข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ขันโตกมีสองชนิดด้วยกัน คือ ขันโตกยวนซึ่งทำด้วยไม้สัก ใช้กันแพร่หลายในแถบ ภาคเหนือของประเทศไทย อีกชนิดหนึ่งคือขันโตกลาว ทำด้วยไม้ไผ่สานประกอบด้วยหวายในบางส่วน นิยมใช้ในภาคอีสาน ลาว และแถบสิบสองปันนาในทางตอนใต้ของจีน รวมทั้งชาวเขาบางกลุ่มก็นิยมใช้ขันโตกกัน เมื่อในสมัยโบราณขันโตกเป็นเครื่องใช้ส่วนหนึ่งของงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน งานศพ และพิธีทำบุญบ้านเป็นต้น อาหารที่ใช้เลี้ยงเป็นอาหารเหนือและจะเป็นอะไรอีกต่าง ๆ ก็ได้ส่วนการใช้งานก็ใช้เป็นภาชนะที่วางถ้วยอาหารกับข้าว เมื่อใส่กับข้าวแล้วยกมาตั้งสมาชิกในครอบครัวหรือแขกที่มาบ้านจะนั่งล้อมวงกันกินข้าว หากใส่ดอกไม้ธูปเทียนก็จะเป็นขันดอก และถ้าใส่เครื่องคำนับก็จะเป็นขันตั้ง นอกจากการจะแบ่งชนิดของขันโตกแล้ว ยังแบ่งขนาดของขันโตกกันอีกด้วย หลักๆจะมี 3ขนาด คือ ขันโตกหลวง หรือ สะโตกหลวง ที่ทำด้วยไม้ขนาดใหญ่ นิยมใช้การในราชสำนักในคุ้มในวังของเจ้านายฝ่ายเหนือทั่วไป รวมทั้งใช้ในวัดวาอารามทั่วไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับยศศักดิ์ และความยิ่งใหญ่ของชนชั้นผู้ปกครองในการที่จะใช้เลี้ยงแขกบ้านแขกเมือง ขนาดรองลงมาก็จะเป็น ขันโตกฮาม หรือ […]
แมง 4 หู 5 ตา
แมง 4 หู 5 ตา เป็นสัตว์ในตำนาน มีลักษณะตัวอ้วนเตี้ยเหมือนหมีสีดำ และมีขนยาวสีดำปกคลุมร่างกาย มีหูสองคู่และมีตาห้าดวง โดยที่ดวงตาของแมงสี่หูห้าตาเป็นสีเขียว กินถ่านไฟร้อนๆ เป็นอาหาร และถ่ายอุจจาระออกมาเป็นทองคำ ตำนาน “แมงสี่หูห้าตา” เรื่องนี้เล่าสืบต่อกันมาในตำนานของชาวล้านนา ทางภาคเหนือ มีการบันทึกเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์อักษรในใบลาน ซึ่งมีปรากฏให้เห็นตามวัดทั่วไป ในตำนานครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา จังหวัดลำพูน ก็ได้กล่าวถึงสัตว์ชนิดนี้ โดยเชื่อมโยงจำนวนสี่หูและห้าตาเข้ากับหลักคำสอนทางพุทธศาสนา แสดงถึงหลักธรรมพรหมวิหาร 4 และ ศีล 5 ส่วนตำนาน “แมงสี่หูห้าตา” ของ “วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว” อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว และถือเป็นตำนานของแมงสี่หูห้าตาฉบับที่ถูกต้องที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องราวของ “อ้ายทุกคตะ” เล่ากันว่าเมื่อพันกว่าปีมาแล้ว มีเมืองแห่งหนึ่งนามว่า พันธุมติ มีกษัตริย์ปกครองเมืองชื่อ ท้าวพันธุมติ ในเมืองนี้มีครอบครัวพ่อแม่ลูกมีอาชีพรับจ้างเลี้ยงควาย หาฟืน ลูกคนนี้ชื่อว่า “อ้ายทุกคตะ” เมื่ออายุได้สี่ขวบ แม่ก็มาตายจากไป เมื่ออ้ายทุกคตะอายุได้ 12 ปี พ่อก็ป่วยหนัก […]
วันดีวันเสีย ล้านนา
วันดีวันเสีย ล้านนา ความเป็นมาของความเชื่อและศรัทธาในสังคมล้านนามีวิวัฒนาการ ก่อนที่คนล้านนาจะหันมานับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด คนล้านนาเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ เชื่อเรื่องวิญญาณ นับถือผี บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่าสามารถปกป้องคุ้มครองผู้คนในชุมชนให้อยู่เย็นเป็นสุข เวลาคนล้านนาจะประกอบกิจกรรมใด จึงยึดถือในสิ่งที่เป็นสิริมงคล เชื่อในฤกษ์ยามเป็นหลัก วันไหนวันดี วันไหนไม่ดี วันจ๋ม – วันฟู เดือน วันฟู วันจ๋ม เกี๋ยง จันทร์ ศุกร์ ยี่ อังคาร อาทิตย์ สาม พุธ อาทิตย์ สี่ พฤหัสบดี จันทร์ ห้า ศุกร์ เสาร์ หก เสาร์ พุธ เจ็ด อาทิตย์ พฤหัสบดี แปด พุธ อาทิตย์ เก้า พฤหัสบดี จันทร์ สิบ ศุกร์ อังคาร สิบเอ็ด เสาร์ พุธ สิบสอง […]
ตุงล้านนา เป็นอย่างไร
ตุง เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่หล่อหลอมมาจากภูมิปัญญาความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรม อันเก่าแก่และงดงามของชาวล้านนา ที่ยังผูกพันและมีบทบาทและอิทธิพลต่อวิถีชีวิตประจำวันของชาวล้านนา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันหรือตั้งแต่เกิดจนตายความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างตุง หรือทานตุงมีความสัมพันธ์กับพิธีกรรมในพระพุทธศาสนาและประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของชาวล้านนา ตุงล้านนา ซึ่งคำว่า ตุง เป็นภาษาถิ่นประจำภาคเหนือ แปลว่าธงที่ใช้สำหรับแขวนแบบหนึ่งในศิลปะล้านนา สามารถพบเห็นได้ในภาคเหนือของประเทศไทย โดยคนทางภาคเหนือ จะนำตุงมาใช้เป็นเครื่องประดับ หรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทั้งทางศาสนา ประเพณี งานเทศกาล หรืองานเฉลิมฉลองต่างๆ วัตถุที่นำมาทำตุงในล้านนามีหลากหลายรูปแบบ ลักษณะที่แผ่นวัตถุทำจากผ้า กระดาษ ไม้ โลหะ ทองเหลือง หรือใบลาน โดยนำไม้ส่วนปลายแขวนห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา ตามคติความเชื่อของคนล้านนาเกี่ยวกับตุงที่ทำขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ใช้ในงานพิธีทางศาสนา ทั้งในงานมงคลและอวมงคล โดยมีขนาดรูปทรงและรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้าง ตามความเชื่อพิธีกรรม ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น อย่างไรก็ดีคนล้านนามีความเชื่อว่า การถวายหรือทานตุงนั้นจะได้รับผลบุญและอานิสงค์ เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขเป็นอย่างมาก หรือบางตำรามีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า เมื่อตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์หรือเมื่อตกนรกชายตุงจะแกว่งฉุดวิญญาณขึ้นมาจากนรกให้ขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์ นอกจากนี้การใช้ตุงทางภาคเหนือ ได้ปรากฏหลักฐานตามตำนานพระธาตุดอยตุง โดยกล่าวถึงการสร้างพระธาตุไว้ว่า เมื่อพระมหากัสสปเถระเจ้าได้นำเอาพระบรมธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้ายขององค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาถวายแด่พระยาอนุตราชกษัตริย์ลำดับที่ ๓ แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ พระองค์ทรงขอเอาที่แดนของพระยาลาวจก (ราชวงศ์ลวจังคราช) ในหมู่เขาสามเสียงเส้าเป็นที่ก่อสร้างสถูปบรรจุพระบรมธาตุเมื่อจะสร้างพระมหาสถูปนั้นให้ทำ “คุงตะขาบใหญ่” ยาวถึงพันวาปักไว้บนยอดดอยปู่เจ้า หางตุงปลิวไปเพียงใดกำหนดหมายไว้เป็นฐานสถูปเพียงนั้น ประเภทของตุงล้านนา มีมากมายหลากหลายประเภทด้วยกัน […]
ดนตรีและนาฏกรรมล้านนา
เป็นศิลปะการแสดงทางภาคเหนือของประเทศไทย ปรากฏอยู่ในการฟ้อนประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการแสดงที่มีความเข้มแข็ง หนักแน่นในแบบฉบับของการตีกลองสะบัดชัยและการตบมะผาบ การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือนอกจะมีลักษณะเป็นแบบพื้นเมืองเดิม ไทยลานนา ไทยใหญ่ เงี้ยวรวมถึงพม่า ผสมกันอยู่แล้ว ยังรวมถึงการแสดงของภาคกลางรวมอยู่ด้วย วงกลองล้านนา เต่งถิ้ง วงเต่งถิ้ง เป็นวงดนตรีประเภทปี่พาทย์ เครื่องดนตรีทุกชิ้นมีเสียงดังมาก ประกอบด้วยเครื่องเป่าและเครื่องตี เครื่องเป่าเป็นเครื่องเป่าประเภทปี่ที่เรียกว่า “แน” มี 2 เลาด้วยกัน คือ แนหน้อย (ขนาดเล็ก) และแนหลวง(ขนาดใหญ่) ส่วนเครื่องตีไก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม(เรียก-ป้าดไม้) ระนาดเอกเหล็ก (เรียกป้าดเหล็ก) ฆ้องวงใหญ่ (เรียกกลองป่งโป้ง)และกลองใหญ่คล้ายตะโพนมอญ (เรียกกลองเต่งถิ้ง) ชื่อวง “เต่งถิ้ง” ได้จากเสียงกลองใหญ่ที่ดัง “เต่ง- ถิ้ง” โอกาสที่บรรเลงมีหลายโอกาส ได้แก่ งานบุญงานวัด แห่ขบวน งานศพ งานฟ้อนผี นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงประกอบการชกมวย การฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบและฟ้อนม่านมุ่ยเชียงตาอีกด้วย มองเซิง มองเซิง เป็นวงกลองพื้นบ้านของชาวไทยใหญ่ เป็นที่นิยมกันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง […]
ปรัชญา ศาสนา ความเชื่อ ของชาวล้านนา
อาณาจักรล้านนา ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรือง ผู้คนสงบสุขร่มเย็นนับตั้งแต่โบราณกาลอีกทั้งความ ศรัทธา ในพระพุทธศาสนาได้หยั่งรากฝังลึก หล่อหลอมก่อให้เกิดศิลปะและวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม สืบเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชนชาวล้านนาได้ยึดถือหลักธรรม และปรัชญาคำสอนของ องค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า มาเป็นแนวทางในการด าเนินชีวิต ทำให้มีความสงบสุขตลอดมา